ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขาชะเมา
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง
ชื่อผู้วิจัย นายธรรมนูญ แก้วเพ็ชร
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1.) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน¬¬ของผู้เรียน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขาชะเมา สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง 2.) เพื่อนำผลการวิจัยมาเป็นสารสนเทศในการพัฒนาแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเขาชะเมา สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้จากประชากร 304 คน สุ่มโดยวิธีการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกน ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด โดยแบบสอบถามศึกษาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการจัดการศึกษา ปัจจัยด้านครอบครัวและเพื่อนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยอำเภอเขาชะเมา สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดระยอง ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการจัดการศึกษา และปัจจัยด้านครอบครัวและเพื่อน ในภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า มีความสำคัญ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่ 1 ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านที่ 2 ปัจจัยด้านการจัดการศึกษา และด้านที่ 3 ปัจจัยด้านครอบครัวและเพื่อน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ สรุปได้ดังนี้
ด้านที่ 1 ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ในภาพรวม พบว่า ด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีระดับความสำคัญสูงกว่า ด้านเจตคติและแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนเข้าเรียน ตรงเวลา และผู้เรียนไม่เคยขาดเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้เรียนส่งงานที่รับมอบหมายครบตามกำหนดเวลา และผู้เรียนสรุปสาระสำคัญที่ครูสอนเป็นประจำ ตามลำดับ ส่วนด้านเจตคติและแรงจูงใจ
ใฝ่สัมฤทธิ์ พบว่า ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้เรียนมีความรู้สึกกระตือรือร้นทุกครั้งที่จะเข้าเรียน ผู้เรียนมีความพยายามที่จะเรียน เพื่อให้ตนเองมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ผู้เรียนมีความสุขเมื่อได้เรียนหนังสือ และผู้เรียนมีความต้องการที่จะยกระดับการศึกษาของตนเองให้สูงขึ้น ตามลำดับ
ด้านที่ 2 ปัจจัยด้านการจัดการศึกษา ในภาพรวม พบว่า ด้านการบริหารจัดการ มีระดับ
ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีระดับความสำคัญสูงกว่า ด้านหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการจัด การเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของด้านการบริหารจัดการ พบว่า จัดให้มีการบริการอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็วและพอเพียงต่อการศึกษาค้นคว้า อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีมาจัดการเรียนรู้อย่างแท้จริง และการสนับสนุนจัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนด้านหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า หลักสูตรมีการกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ หลักสูตรส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม และหลักสูตรมีความยืดหยุ่นตรงกับความต้องการของผู้เรียน ตามลำดับ ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูมีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดในหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ครูมีการเตรียมการสอนล่วงหน้าและชี้แจงแผนการสอน และครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มและการทำโครงงาน ตามลำดับ
ด้านที่ 3 ปัจจัยด้านครอบครัวและเพื่อน ในภาพรวม พบว่า ด้านการสนับสนุนของครอบครัวหรือผู้ปกครอง มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีระดับความสำคัญสูงกว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของด้านการสนับสนุนของครอบครัวหรือผู้ปกครอง พบว่า ครอบครัวหรือผู้ปกครองจะให้กำลังใจผู้เรียนเมื่อมีปัญหาเรื่องการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ครอบครัวหรือผู้ปกครองสนับสนุนด้านการเงินในการจัดหา วัสดุอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็นให้กับผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้ และครอบครัวหรือผู้ปกครองมีความเข้าใจในความสามารถด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามลำดับ ส่วนด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน พบว่า ผู้เรียนชอบที่จะเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนในกิจกรรมวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ เมื่อผู้เรียนไม่เข้าเรียน เพื่อนจะช่วยติดตามให้มาเรียน และผู้เรียนจะมีความมั่นใจและชอบทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน ตามลำดับ
2. ผู้วิจัยนำผลการวิจัยมาเป็นสารสนเทศด้านลักษณะส่วนบุคคล ด้านเจตคติและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อสร้างพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ให้สูงขึ้น