บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านปักหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านปักหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านปักหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
4) เพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านปักหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านปักหมู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านปักหมู จำนวน 8 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านปักหมู จำนวน 33 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านปักหมู จำนวน 33 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการโรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
2) แบบสัมภาษณ์
3) รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
4) แบบสอบถามความพึงพอใจ
5) แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการอบรมด้วย t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านปักหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และระดับปานกลาง 4 ด้าน ส่วนผลการวิเคราะห์ สภาพปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และระดับปานกลาง 4 ด้าน และผลการวิเคราะห์ความต้องการ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านปักหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ซึ่งได้พัฒนาตามหลักการและแนวคิดการออกแบบตามรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านบุคลากรพอเพียง 2) องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมพอเพียง 3) องค์ประกอบด้านชุมชนพอเพียง 4) องค์ประกอบด้านนวัตกรรมพอเพียง 5) องค์ประกอบด้านงบประมาณพอเพียง 6) องค์ประกอบด้านการสร้างเครือข่ายพอเพียง ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.61) ปรากฏว่า รูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบนี้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านปักหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.35
4. ผลการสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน โรงเรียนบ้านปักหมู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.27
5. ผลการอบรมเพื่อขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนน การทดสอบความรู้ เข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนและหลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.00 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน หลังการอบรมได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.55 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน แสดงว่าหลังการอบรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01