บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน ด้วยกิจกรรมต้นแบบสภานักเรียน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดป้อมวิเชียรโชติการาม 1.ด้านปัจจัยนำเข้า 2.ด้านกระบวนการ 3.ด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมิน IPO (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2558 : 209) ประชากรผู้ให้ข้อมูลในการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ประกอบด้วย ครู และบุคลากร จำนวน 56 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 928 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ คือ ครูและบุคลากร จำนวน 56 คน กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ให้ข้อมูลการประเมินผลผลิต:การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -6 จำนวน 928 คน กลุ่มที่ 3 เป็นผู้ให้ข้อมูลการประเมินผลผลิต: ความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินโครงการ ได้แก่ ครูและบุคลากร 56 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3- 6 จำนวน 274 คน รวม 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 4 รายการ ได้แก่ แบบสอบถามประเมินด้านปัจจัยนำเข้า แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการ แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน มีดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ผู้บริหารและครูจำนวน 56 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 73.21 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 2.44 การศึกษาระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 68.29 และการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 29.27 เพศชายคิดเป็นร้อยละ 26.79 การศึกษาระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 80.00 และการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 20.00 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 เป็นนักเรียนชาย 120 คนคิดเป็นร้อยละ 12.93 นักเรียนหญิง 154 คน คิดเป็นร้อยละ 87.07
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน ด้วยกิจกรรมต้นแบบสภานักเรียน ของโรงเรียนวัดป้อมวิเชียรโชติการาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินได้สรุปผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน ด้วยกิจกรรมต้นแบบสภานักเรียน โรงเรียนวัดป้อมวิเชียรโชติการาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่าในภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ =4.52, σ = 0.05) เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านบุคลากร รองลงมาคือ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ ด้านการบริหารจัดการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านงบประมาณ
2. ด้านกระบวนการ (Process)
ผลการประเมินกระบวนการปฏิบัติงาน ของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน ด้วยกิจกรรมต้นแบบสภานักเรียน โรงเรียนวัดป้อมวิเชียรโชติการาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่าในภาพรวมระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (µ =4.34, σ = 0.06) เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายขั้น พบว่าขั้นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวางแผน รองลงมาคือ ขั้นการดำเนินงาน ขั้นการตรวจสอบ และขั้นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ขั้นการปรับปรุงแก้ไข
3.ด้านผลผลิต (Output) ผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 รายการคือ
3.1 ผลประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 9 ข้อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนวัดป้อมวิเชียรโชติการาม ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครพบว่า ภาพรวมการประเมินระดับดีขึ้นไปของตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 คิดเป็น
ร้อยละ 99.71 โดยแยกเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และมีความกตัญญูกตเวที คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ
อยู่อย่างพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 99.89 และประเด็นที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มุ่งมั่นในการทำงาน คิดเป็นร้อยละ99.20
3.2 ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน ด้วยกิจกรรมต้นแบบสภานักเรียน โรงเรียนวัดป้อมวิเชียรโชติการามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่าในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (µ =4.40, σ = 0.08) เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของครู อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ข้อที่ครูและนักเรียนพึงพอใจสูงสุดคือ มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของระบบประชาธิปไตย รู้สิทธิ หน้าที่ตามกฎหมาย รองลงมา คือ มีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการระบอบประชาธิปไตยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ข้อที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือ มีการส่งเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาคุณลักษณะประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิตในโรงเรียน