การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความ
ต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทนส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 3) เพื่อศึกษาผล
การใช้กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา
สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ขั้นตอนที่ 2 การ
พัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ขั้นตอนที่ 1
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี
เขต 2 จ านวน 13 คน ผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูในการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
ขั้นตอนที่ 2 จัดท าคู่มือกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย
ความส าคัญและปัญหา หลักการ จุดมุ่งหมาย สาระที่ใช้ในการพัฒนา กิจกรรมการพัฒนา สื่อและ
แหล่งเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
แบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมิน
ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ แบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อการพัฒนา
สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้เชิงรุก
ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้คู่มือกิจกรรม แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เตรียมการ เป็นการท า
ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาและการทดสอบความรู้ก่อนการพัฒนา ระยะที่ 2 สร้างความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ระยะที่ 3 การน าความรู้สู่การปฏิบัติจริง ได้แก่ การออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม การจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ และการรายงานการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย สภาพที่พึงประสงค์ของการ
จัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทน ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด การพัฒนาคู่มือกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทนส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 มีค่าความ
เหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และแผนกิจกรรม 5 แผน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ผลการใช้กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ครูมีผลการทดสอบความรู้หลัง
การเข้ารับการพัฒนาสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนา อย่างมีระดับนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีผล
การประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการ
ประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีผล
การประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก จ านวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15
และจ านวน 7 คน อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 53.85 ผลการวัดเจตคติของครูที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะครู
ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก