ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านยุบพริก ตำบลบ่อนอก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
ผู้ประเมิน นายปภังกร เงาะลำดวน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยุบพริก
ปีที่ทำการประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านยุบพริก มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 3) เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 4) เพื่อประเมินผลผลิตของการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้รูปแบบจำลองปรับประยุกต์แบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัพเฟิลบีม (Stufflebeam)
กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านยุบพริก ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน จากโรงเรียนบ้านยุบพริก ในปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็น แบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 110 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์มาตราส่วนแบบประมาณค่า ในแต่ละระดับความ คิดเห็น 5 ระดับ คือ ระดับที่ 5 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับมากที่สุด ระดับที่ 4 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับมาก ระดับที่ 3 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับปานกลาง ระดับที่ 2 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับน้อยระดับที่ 1 หมายถึง มีผลการดำเนินงานในระดับน้อยที่สุดสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย สูงสุดในด้านสภาวะแวดล้อม รองลงมาคือด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการโครงการ และ ด้านผลผลิต ตามลำดับ
2. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด มี 3 ข้อ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุน และเป็นผู้นำโครงการ ระบบการบริหารภายในโรงเรียนเอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรม และ คณะกรรมการ โครงการเป็น ผู้มีความสนใจ มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม และข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุด มี 1 ข้อ คือ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้มีเพียงพอ และ มีคุณภาพ
3. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด มี 3 ข้อ คือ การประชุมวางแผน การดำเนินงาน การกำหนด บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชัดเจน การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอน ความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องของ โครงการ ตามลำดับ และ ข้อที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ ความร่วมมือของคณะทำงานตามโครงการ
4. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดย
ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนรายกิจกรรม กิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับสูงสุด คือ ความมีระเบียบวินัย รองลงมา ได้แก่ ความใฝ่เรียนรู้ ความซื่อสัตย์สุจริตอยู่อย่างพอเพียง ความมุ่งมั่นในการทำงาน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จิตสาธารณะ รักความเป็นไทย ตามลำดับ