รายงาน รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงสามพัน(ซับสมอทอด)
ผู้รายงาน นางลักษณียา วงศ์สมบัติ
หน่วยงาน โรงเรียนอนุบาลบึงสามพัน(ซับสมอทอด)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงสามพัน (ซับสมอทอด) ในครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าและดำเนินการรูปแบบการประเมินโครงการโดยใช้ซิปโมเดล (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ในการประเมิน ดังนี้ 1. เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 27 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนใช้การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เคจร์ซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 204 คน แล้วเลือกสุ่มแบบจับฉลากโดยถือว่านักเรียนแต่ละคนมีผู้ปกครอง 1 คน รวมทั้งหมด 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จํานวน 6 ฉบับทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ ได้ความเชื่อมั่นระหว่าง 0.78 - 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงสามพัน(ซับสมอทอด) ประเมินโดยผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (= 4.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสพฐ.และสพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วิธีวัดและประเมินผลมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงสามพัน(ซับสมอทอด) ประเมินโดย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (= 4.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรให้ความสำคัญในการดำเนินงานโครงการ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สถานที่ สื่อ/เครื่องมือในการดำเนินงานโครงการมีเพียงพอ และระยะเวลาในการดำเนินงานเหมาะสม
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงสามพัน(ซับสมอทอด)
3.1 ตามกระบวนการ PDCA ประเมินโดย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (= 4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียนเพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหา และค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ การพัฒนาครูการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหานักเรียนโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3.2 ตามกระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประเมินโดย ครู นักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (= 4.23 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การใช้ข้อมูลที่หลากหลายในการคัดกรองนักเรียน และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดบรรยากาศในโรงเรียนให้ร่มรื่นน่าอยู่และมีความปลอดภัย
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงสามพัน(ซับสมอทอด)
4.1 ผลผลิตของโครงการ ประเมินโดยผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก(= 4.33 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้นักเรียนมีทักษะในการหลีกเลี่ยงป้องกันอันตรายและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลบึงสามพัน(ซับสมอทอด) ตามกระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประเมินโดย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (= 4.38 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูมีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กิจกรรมในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน