ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนานิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านสาแพะ
ลักษณะผลงาน : การประเมินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่
ผู้ประเมิน : นายอำนาจ ใจยาบุตร
ผู้อำนวยการชำนาญการโรงเรียนบ้านสาแพะ
ปีพุทธศักราช : 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนานิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านสาแพะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม และความเป็นไปได้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความพร้อมของงบประมาณ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ และความเหมาะสมของสถานที่และแหล่งเรียนรู้ในการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับ การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และการปรับปรุงพัฒนา 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 4.1) ประเมินคุณลักษณะนิสัยรักการอ่านของนักเรียน 4.2) ประเมินการนำความรู้และทักษะด้านการอ่านไปใช้ในการ พัฒนาตนเอง 4.3) ประเมินระดับคุณภาพทางการเรียนของนักเรียน 4.4) ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ
ผู้ประเมินยึดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น ๔๙ คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ๑๐ คน นักเรียน ๑๖ คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคน) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน) ผู้ปกครองนักเรียน ๑๖ คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคนใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๗ ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถาม ประเด็นบริบทของโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามประเด็นกระบวนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 1 ฉบับ ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ จำนวน ๓ ฉบับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าร้อยละ(Percentage) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง(Construct Validity) และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า( - Coefficient) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Window
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการ โดยการประเมิน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้
ความเป็นไปได้ในการบรรลุ วัตถุประสงค์ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความเหมาะสมของ การจัดกิจกรรม ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของโครงการ ผ่าน การประเมินระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้
ความพร้อมของบุคลากร ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความเหมาะสมของสถานที่และ แหล่งเรียนรู้ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ผ่านการประเมินระดับมากและความพร้อมของงบประมาณ ผ่านการประเมินระดับมาก
3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการดำเนินงานของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้ การวางแผน ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด การปรับปรุงพัฒนา ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด และการดำเนินงาน ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมิน และเรียงตามลำดับ ดังนี้ ดังนี้ ผลการประเมินทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนผ่านการประเมินระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ ผ่านการประเมินระดับมากที่สุด การนำความรู้และทักษะด้านการอ่านไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ผ่านการประเมินระดับมาก คุณลักษณะนิสัยรักการอ่าน ของนักเรียน ผ่านการประเมินระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านการประเมินระดับปานกลาง
5. ผลการประเมินโครงการในภาพรวมของโครงการพัฒนานิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านสาแพะ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด ทุกประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น และตัวชี้วัด ของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และเรียงตามลำดับ ด้านบริบทของโครงการ(Contexts) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ(Processes) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ(Inputs) และด้านผลผลิตของโครงการ(Products)