บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด -19 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนแม่แอบวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
หน่วยงาน : โรงเรียนแม่แอบวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ผู้รายงาน : วสันต์ สวัสดิ์สุข
ปีการศึกษา : 2564
การประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด -19 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนแม่แอบวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ส่วนขยายผลผลิตของโครงการด้านผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน การถ่ายทอดส่งต่อ และความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPPiest Model ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 130 คน ประกอบด้วย คณะครูโรงเรียนแม่แอบวิทยาคม จำนวน 22 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 50 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 50 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผลการประเมินพบว่า
1. พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นนักเรียน และผู้ปกครองมากที่สุด จำนวน 50 คน เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 37.03 รองลงมาได้แก่ครู จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 16.29 และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 9.62
2. ผลการประเมินด้านบริบทโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก 1) กิจกรรมมีความเหมาะสมกับเวลาสถานการณ์ปัจจุบัน 2) กิจกรรมมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาปัจจุบันของโรงเรียน 3) กิจกรรม โครงการสอดคล้องกับ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ตามลำดับ
3. ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก 1) จำนวนบุคลากรในการดำเนินโครงการมีความพอเพียง
2)ระบบการบริหารภายในโรงเรียนเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรม 3) บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ และเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ ตามลำดับ
4. ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก 1) ผู้รับผิดชอบ และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน ทุกกิจกรรม 2) มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางวางแผนการดำเนินงาน กิจกรรมของโครงการ 3) การจัดกิจกรรมของโครงการ มีความต่อเนื่อง เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ตามลำดับ
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยมีผลการประเมินส่วนขยายผลผลิตแต่ละด้าน ดังนี้
5.1 ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก 1) นักเรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามเกณฑ์ 2) นักเรียนมีความสุข เมื่อได้ทำกิจกรรม 3) นักเรียนได้องค์ความรู้จากกระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ
5.2 ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก 1) นักเรียนมีความสุขเมื่อทำกิจกรรม 2) โรงเรียนมีความพร้อมในการจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 3) นักเรียนมีความพึงพอใจในรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ
5.3 ผลการประเมินโครงการ ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก 1) สถานศึกษามีความปลอดภัยในการจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 2) สถานศึกษามีความพร้อมในด้านสถานที่จัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 3)ผู้ปกครองมีความเชื่อมั่นในการจัดการสอนของโรงเรียน ตามลำดับ
5.4 ผลการประเมินโครงการด้านผลกระทบ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1)นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนและครูจัดให้ 2) ครูได้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์โควิด 19 3) การดำเนินโครงการทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานด้านผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ ตามลำดับ
5.5 ผลการประเมินโครงการด้านประสิทธิผล ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะได้หลากหลายด้าน 2) กิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมและสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาได้ 3) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจและเห็นความสำคัญของโครงการ ตามลำดับ
5.6 ผลการประเมินโครงการการด้านความยั่งยืน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) มีกรอบการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปปรับใช้ในสถานการณ์อื่นได้ 3) โครงการมีการดำเนินงานตามหลักการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน ตามลำดับ
5.7 ผลการประเมินโครงการด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก 1) ครูมีความภาคภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ 2) มีการถ่ายทอดประสบการณ์ การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการด้านการบริหารจัดการให้แก่หน่วยงานอื่น 3) โรงเรียนสามารถบริหารโครงการจนประสบผลสำเร็จ และเป็นต้นแบบให้กับสถานศึกษาอื่นได้ และครูผู้เข้าร่วมโครงการ นำความรู้ที่ได้พัฒนาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อครูคนอื่นในรูปแบบชุมชนวิชาชีพได้(PLC) ตามลำดับ