รายงานการนิเทศรายงานผลการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ร่วมกับเทคนิค COACHING
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สำหรับครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูผู้สอน ก่อนและหลังศึกษาด้วยคู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สำหรับครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อคู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สำหรับครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม และเพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียนจัดการเรียนรวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนจัดการเรียนรวม โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และที่สนใจสมัครเข้ารับการอบรม และยังไม่เคยผ่านการอบรมมาก่อน จำนวน 26 คน และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ประกอบด้วย คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สำหรับครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม จำนวน 1 เล่ม 5 หน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการใช้คู่มือ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อคู่มือ และแบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สำหรับครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t- test for dependent ผลการศึกษา พบว่า
1) คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สำหรับครูผู้สอนทางการศึกษาพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนจัดการเรียนรวม มีประสิทธิภาพ 87.24/84.74 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีคะแนนความรู้ความเข้าใจหลังใช้คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สำหรับครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สูงกว่าก่อนการอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนจากการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจของครูหลังใช้คู่มือ ( = 25.42 , S.D. = 1.60) สูงกว่าการทดสอบก่อนการใช้คู่มือ ( = 19.88 , S.D. = 3.17)
3) ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความคิดเห็นในระดับดีมากต่อคู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สำหรับครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.75 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.29
4) ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ระดับชั้นประถมศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.82 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.31
5) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่เข้าร่วม มีผลการประเมินพัฒนาการที่สูงขึ้น ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) โดยร้อยละของพัฒนาการหลังการเรียนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 61.37 สูงกว่าร้อยละของพัฒนาการก่อนการเรียนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 26.16 มีค่าความต่างเท่ากับ 35.21