ชื่อเรื่อง โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำฉา ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นายสุทัด ทองพิมล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำฉา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำฉา ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้น ป.3 - ป.6 ทุกคน จำนวน 28 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.3 - ป.6 จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และประชากรครู จำนวน 5 คน และมีคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .89 - .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำฉา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.63 , S.D. = .57) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวม 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่กลุ่ม ครู (µ = 4.48 , σ = .61) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านน้ำฉา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.52, σ =.53) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนน 15คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.50 , S.D. = .56) อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนน 15คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านน้ำฉา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ด้าน คือ การวางแผนดำเนินงาน (P) การดำเนินการจัดกิจกรรม (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (A) โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 25 คะแนน ผ่านเกณฑ์ประเมิน และเมินพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.49, σ = .66) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวม 25 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( x̄= 4.48, S.D. = .50) อยู่ในระดับ มาก เช่นกัน ได้คะแนนรวม 25 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้าน น้ำฉา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄= 4.53, S.D.= .60) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด (µ = 4.51, σ = .53) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน (x̄= 4.50, S.D.= .60) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านน้ำฉา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄= 4.53, S.D.= .58) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄= 4.51, S.D.= .57,.56) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน (µ = 4.50, σ= .54) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1 การดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือโรงเรียนบ้านน้ำฉา ปีการศึกษา 2563 นั้นจำเป็นที่โรงเรียนควรวางแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพติดตามอย่างใกล้ชิดโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมมือกัน
2 การดำเนินกิจกรรมผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานให้เกิดความเข้าใจและดำเนินตามแผนที่วางไว้โดยประสานผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ร่วมกิจกรรมอย่างเต็มความความสามารถด้วยความรับผิดชอบ
3 ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ความรู้และเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
1 ควรใช้วิธีการและเครื่องมือในการประเมินอย่างหลากหลายเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ เป็นต้น
2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา กับประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน