แบบวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล ตามโครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการภาค
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
รายงานการวิจัยนวัตกรรม เรื่อง การบริหารจัดการด้วย DANNA MODEL สู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผู้วิจัย นายสธรรดร ยอดยิ่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง
ปีการศึกษา 2565
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของโรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง โดยใช้ DANNA MODEL เป็นแนวทางที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน โดยเฉพาะงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพของตนเอง ภายใต้ความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนอย่างเหมาะสม ให้เป็นคนดีที่มีความสามารถและมีความสุข โดยศึกษารูปแบบการบริหาร จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A และหลักการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ทำให้การบริหารจัดการของโรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง บรรลุตามเป้าหมาย และมองเห็นแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน รวมถึงภาพแห่งความสำเร็จที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ๆ ที่มีความท้าทายต่อโรงเรียนด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งภายในและภายนอกเพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยมี DANNA MODEL เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ดังนี้
Design : การออกแบบ วางแผนสร้างเค้าโครง
Assembling : ประชุม ปรึกษา หารือ กำหนดเป้าหมาย
Necessary : ปัจจัย สิ่งจำเป็น
Network : เครือข่ายความร่วมมือ
Aggregate : รวบรวม สรุปผล
จากการนำ DANNA MODEL มาใช้ในการบริหารจัดการเรื่องระบบดูแลช่วยเหลือให้กับนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง พบว่า
การดำเนินงานการบริหารจัดการ ด้วย DANNA MODEL สู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.27) การบริหารจัดการด้านN =Network : เครือข่ายความร่วมมือ สามารถบริหารจัดการได้ดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ (x̄ =4.44) รองลงมาคือการบริหารจัดการ ด้าน A = Assembling : ประชุมปรึกษาหารือ กำหนด เป้าหมาย มีค่าเฉลี่ย คือ (x̄ =4.42) และการบริหารจัดการด้าน D = Design : การออกแบบ วางแผนสร้างเค้าโครง ค่าเฉลี่ย คือ (x̄=4.41)รองลงมาการบริหารจัดการด้าน A = Aggregate : รวบรวม สรุป มีค่าเฉลี่ย(x̄ =4.08) ส่วนการบริหารจัดการด้าน N = Necessary : ปัจจัย สิ่งจำเป็นมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ (x̄ =4.03)
จากการศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้วย DANNA MODEL สู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า
1) คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 9 คน มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
(x̄ =4.68)
2) ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์และครูโรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง จำนวน 16 คนมีความพึงพอใจใน
ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.62)
3) ผู้ปกครองจำนวน 118 คน มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.40)
4) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 118 คน มีความพึงพอใจ
ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.43)
ดังนั้นระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง จึงเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน ขอบข่ายโครงสร้างในการดำเนินงาน มีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐานคุณภาพ ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและมีแนวคิดไปในทางเดียวกัน มีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานอย่างเหมาะสม ทั่วถึง ครอบคลุมและต่อเนื่อง เป็นการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดแสนตุ้ง เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรม มีวิถีชีวิตที่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน