การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) สร้างและตรวจสอบ
รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) ทดลองใช้
รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) เพื่อประเมิน
ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส
เขต 2 โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่ 1ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชน
แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยครูวิชาการของโรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต 2 จำนวน 117 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน
ขั้นตอนที่ 2สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยครูผู้สอนโรงเรียนนิคมพัฒนา 7 จำนวน 10 คน และ
ครูผู้สอนของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายอำเภอสุคิริน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาส เขต 2 จำนวน 15 โรงเรียน จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน และขั้นตอนที่ 4
ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยครูผู้สอนโรงเรียนนิคมพัฒนา 7 จำนวน 10คน
และครูผู้สอนของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายอำเภอสุคิริน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาส เขต 2 จำนวน 15 โรงเรียน จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบทดสอบวัดความรู้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency)
ค่าร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ
ความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพปัจจุบันเสริมสร้าง
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ประกอบด้วย 6
องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการ
ของรูปแบบ การวัดและประเมินผล และระบบงานและกลไกของรูปแบบ การตรวจสอบรูปแบบ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า
ความถูกต้องภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมิน
คู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า
ความถูกต้องของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้
เชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการ
เรียนรู้เชิงรุก พบว่า ก่อนการอบรมภาพรวม อยู่ในระดับมาก และหลังการอบรมภาพรวม อยู่ในระดับ
มากที่สุด
4. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของ
รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ภาพรวมอยู่
ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาส เขต 2 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด