ผลงานทางวิชาการ การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนหนองผักฉีด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ผู้ประเมินโครงการ นายพีรพัฒน์ บุญเสน
ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองผักฉีด วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่รายงาน 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิต
ของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนหนองผักฉีด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต
1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการ
ดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนหนองผักฉีด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ตรัง เขต 1 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน มี
จำนวนทั้งสิ้น 110 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 4 คน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหาร) ผู้ปกครอง
นักเรียน จำนวน 70 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 29 คน ซึ่งสรุปผลการประเมิน
ได้ดังนี้
สรุปผลการประเมิน
1. ด้านบริบท (Context Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนหนอง
ผักฉีด มีความคิดเห็นต่อระดับความสอดคล้องของบริบท โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนหนองผักฉีด โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีความคิดเห็นมากที่สุด คือ ความ
สอดคล้องของโครงการกับนโยบายของโรงเรียน ระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมาคือ ความ
สอดคล้องของโครงการกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ความสอดคล้องของโครงการกับ
สภาพความต้องการของนักเรียน ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ความสอดคล้องของโครงการกับพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2553 ความ
สอดคล้องของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับความคิดเห็นมากที่สุด และ
ความสอดคล้องของโครงการกับเวลาและสถานการณ์ของสังคมในปัจจุบัน ระดับความคิดเห็นมาก
ส่วนข้อที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ความสอดคล้องของโครงการกับสภาพของชุมชน ระดับความ
คิดเห็นมาก
[2]
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนหนอง
ผักฉีด มีความคิดเห็นต่อระดับความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้น โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนหนองผักฉีด โดยรวม
ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
ในการจัดกิจกรรมโครงการ และสถานที่ดำเนินโครงการมีความเหมาะสม ระดับความคิดเห็นมาก
ที่สุด รองลงมาคือ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ส่วนด้านที่มีความ
คิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านงบประมาณ ระดับความคิดเห็นมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนหนอง
ผักฉีด มีความคิดเห็นต่อระดับความเหมาะสมของกระบวนการ โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนหนองผักฉีด โดยรวม
ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นขั้นตอน พบว่า ขั้นตอนที่มีความคิดเห็นมากที่สุดคือ ขั้นสรุป
รายงานผล ระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นประเมินผล ระดับความคิดเห็นมากที่สุด
และขั้นดำเนินการ ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ส่วนขั้นตอนที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ขั้นการ
เตรียมการ ระดับความคิดเห็นมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ด้านคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการประเมิน พบว่า ครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โรงเรียนหนองผักฉีด มีความคิดเห็นต่อ
ระดับพฤติกรรมของนักเรียน โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการ
ดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนหนองผักฉีด ด้านคุณลักษณะตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็น
มากที่สุด คือ การมีเหตุผล ระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมา คือ ความพอประมาณ ระดับ
ความคิดเห็นมากที่สุด การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ระดับความคิดเห็นมากที่สุด และเงื่อนไขคุณธรรม
ระดับความคิดเห็นมาก ส่วนด้านที่มีคิดเห็นน้อยที่สุด คือ เงื่อนไขความรู้ระดับความคิดเห็นมาก
ด้านความรู้และทักษะของนักเรียน ผลการประเมิน พบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะ
โครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ
โรงเรียนหนองผักฉีด โดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนผ่าน
เกณฑ์การประเมินความรู้และทักษะ ด้านสังคมพอเพียงมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจและมีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต ส่วนด้านที่นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้
และทักษะ น้อยที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรม
[3]
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ควรสนับสนุนปัจจัยการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์และ
งบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงานโครงการ ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
2. ควรมีการนำผลประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาการดำเนิน
โครงการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการ มีการประสานการทำงานโครงการอย่างรวดเร็ว
และเป็นกันเอง มีการรายงานผลการประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรประเมินผลกระทบ (Impact) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงส่งเสริมการดำรงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ โรงเรียนหนองผักฉีด
2. ควรศึกษาผลสำเร็จของโครงการที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. ควรศึกษาบทบาทของผู้บริหารและครูที่มีอิทธิพลต่อผลการจัดโครงการน้อมนำ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการด ารงชีวิตของนักเรียนอย่างมีดุลยภาพ
โรงเรียนหนองผักฉีด