ชื่อเรื่อง การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Student Team Achievement Division (STAD) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ของฟังก์ชัน ค33202 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นางสาวศศิชา มีกูล
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Student Team Achievement Division (STAD) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ของฟังก์ชัน ค33202 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Student Team Achievement Division (STAD) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม “จงจินต์รุจิรวงศ์อุปถัมภ์” อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ซึ่งผู้รายงานใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ชุดกิจกรรม เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ของฟังก์ชัน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ของฟังก์ชัน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ดำเนินการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ ทดสอบก่อนเรียน (pre test) ทดสอบหลังเรียน (post test) สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) , ค่าร้อยละ , t – test แบบ Dependent และระดับคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Student Team Achievement Division (STAD) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ของฟังก์ชัน ค33202 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 77.60/77.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่กำหนด คือ 75/75
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Student Team Achievement Division (STAD) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ของฟังก์ชัน ค33202 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนเท่ากับ 11.40 และหลังเรียนเท่ากับ 23.17 โดยค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Student Team Achievement Division (STAD) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ของฟังก์ชัน ค33202 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.70 , S.D. = 0.70)