การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันด้านประสิทธิผลทางการบริหาร 2) สร้างกลยุทธ์ การพัฒนาประสิทธิผลทางการบริหาร และ 3) ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิผลทางการบริหารของโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ โดยใช้แนวคิดของ Kemmis & McTaggart (1988) ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วม จํานวน 2 วงรอบ เริ่มต้นในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ถึงสิ้นปีการศึกษา 2563 ใน 1 วงรอบประกอบด้วย การวางแผน (P: Planning) ลงมือปฏิบัติการตามแผน (A: Action) สังเกตการณ์(O: Observation)และ สะท้อนกลับ (R: Reflection) และใช้เทคนิคกระบวนการรวมพลังสร้างสรรค์(AIC: AppreciationInfluence Control) เพื่อสร้างกลยุทธก์ ารบริหารที่นําไปสู่ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยแนวคิดประสิทธิผลผู้วิจัยใช้กรอบการดําเนินงานขอรับรางวัลสถานศึกษาพระราชทาน ของสํานักทดสอบทางการศึกษา (2562, หน้า 10 - 38)แต่ละกลยุทธ์คณะทํางานได้สร้างโครงการรองรับ ผู้วิจัยใช้เทคนิคการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ของ Daniel L. Stufflebeam โดยประเมินเป็นระยะ ๆ ตลอดการขับเคลื่อนโครงการเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง 2) แบบประเมินโครงการ 3) แบบบันทึกข้อมูล 4)แบบสังเกตการมีส่วนร่วม 5) แบบบันทึกสัมภาษณ์เชิงลึก และ 6) แบบสอบถามเพื่อยืนยันข้อมูล ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลในการใช้เครื่องมือได้แก่ ทีมวิจัยภายใน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จํานวน 23 คน ประกอบด้วยผู้วิจัย ผู้ช่วยผู้วิจัยตัวแทนทีมบริหารโรงเรียน ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครอง และตัวแทนกรรมการสถานศึกษา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่สังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เอกสาร สถิติที่ใช้ได้แก่ความถี่ (N) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงเรียน พบว่า 1) ผลการทดสอบระดับชาติในภาพรวมค่าเฉลี่ยยังต่ํากว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ 2) โรงเรียนไม่มีหลักสูตรท้องถิ่น ไม่มีแผนการนิเทศที่เป็นรูปธรรม มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ไม่ชัดเจน สื่อที่ใช้ยังไม่หลากหลาย ขาดความพร้อมด้านเทคโนโลยี มีเครื่องมือในการวัดผลประเมินผลที่ ไม่หลากหลาย 3) นโยบายการบริหารและการจัดการศึกษา การบริหารงานขาดความต่อเนื่อง เพราะเปลี่ยนผู้บริหารบ่อย ทําให้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนและการบริหารจัดการยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน อาคารสถานที่ ค่อนข้างชํารุดทรุดโทรม ระบบประกันคุณภาพภายในยังไม่ชัดเจน การเผยแพร่สารสนเทศและกิจกรรมของสถานศึกษามีน้อย
4) ครูออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นบริบทของนักเรียนเป็นหลัก กําหนดเป้าหมายโดยรวม ครอบคลุมทั้งด้านองค์ความรู้ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์การวัดผลประเมินผลใช้วิธีการไม่หลากหลายสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่ไม่หลากหลาย 5) ความดีเด่นของสถานศึกษาพบว่ายังมีจุดอ่อน อาทิโครงการสถานศึกษาสี ขาวส่งประกวดไม่ต่อเนือง โครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาไม่ผ่านการประเมิน
2. จากการใช้เทคนิค AIC พบว่า มีกลยุทธ์ที่จะใช้ในการขับเคลื่อนประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์จํานวน 17 กลยุทธ์ได้แก่ 1) พัฒนาผู้นําให้มีวิสัยทัศน์เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี 2) ส่งเสริมภาวะผู้นําทางวิชาการเพื่อพัฒนาองค์กร โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม 3) สร้างสรรค์กลไกการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืน 4) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง บริบท และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้เหมาะกับท้องถิ่น 5) สร้างและจัดหาสื่อ เทคโนโลยีแหล่งเรียนรู้ที่ครอบคลุมความต้องการ สอดคล้องกับหลักสูตรและบริบทของโรงเรียน 6) ส่งเสริมการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับธรรมชาติวิชา 7) พัฒนาผู้เรียนให้อ่านออก เขียนได้มีทักษะในการดําเนินชีวิต ด้วยการจัดกิจกรรมเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 8) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 9) ส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์คิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 10) ส่งเสริมความสามารถนักเรียนอย่างรอบด้านด้วยสะเต็มศึกษา 11) ดูแลช่วยเหลือเติมเต็มศักยภาพของนักเรียนอย่างสมบูรณ์ แบบทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม 12) ปลูกฝังให้นักเรียนมีทักษะการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
13) ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโดยจัดกิจกรรมห้องสมุดมีชีวิตอย่างต่อเนื่อง 14) สร้างภูมิคุ้มกันนักเรียนจากปัญหายาเสพติดและอบายมุข 15) พัฒนาครูให้สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล โดยการสร้างครูให้เป็นสมาชิกที่ดี ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 16) ใช้เทคนิคการนิเทศสามเส้า เพื่อให้ครูจัดการเรียนรู้และจัดชั้นเรียนได้ อย่างมีประสิทธิผล เติมเต็มศักยภาพของนักเรียน 17) นิเทศติดตามให้ครูวัดผล ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายและนําผลการประเมินไปสร้างสรรค์การจัดการเรียนรู้ 3. ผลการใช้กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิผลทางการบริหารของโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์เป็นเวลา 2 ปีการศึกษา พบว่า
ด้านที่1 คุณภาพนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
อย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยในภาพรวมค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สูงขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ(ONET) มีค่าเฉลี่ยของสถานศึกษาสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ อย่าง
ต่อเนื่อง นักเรียนได้รับรางวัลระดับชาติทุกปีการศึกษา นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้านที่2 การบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ พบว่า โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตร มีหลักสูตร
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร บูรณาการเกาะจันทร์บ้านเรา มีหลักสูตรท้องถิ่น ท้องถิ่นดีศรีเกาะจันทร์ มี แผนการนิเทศที่เป็นรูปธรรมใช้เทคนิคการนิเทศแบบสามเส้า (Triangular) โดยการนิเทศจากฝ่ายบริหาร หัวหน้า
ช่วงชั้น และนิเทศตนเอง มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง มกีิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้กิจกรรมเสริมหลักสูตรเนื่องในวันสําคัญหรือเทศกาล
ครูใช้และสร้างสื่อเทคโนโลยีเกมออนไลน์และได้เผยแพร่ความพร้อมด้านเทคโนโลยีให้ชุมชนทราบ มีเครื่องมือ
วัดผลประเมินผลที่หลากหลาย เก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ มีระเบียบการวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน รายงาน
ผลการวัดให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
ด้านที่3 การบริหารและการจัดการศึกษา พบว่า ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ มีคุณธรรม
จริยธรรม ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารงานบุคคล มีความเป็นประชาธิปไตย มีแผนในการพัฒนาสถานศึกษา
ควบคู่กับนวัตกรรมการบริหาร ใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ใช้กระบวนการ PDCA ในการวางแผน
ดําเนินงาน ตรวจสอบ และพัฒนางาน สร้างขวัญและกําลังใจแก่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เสนอแนะ
เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนและการบริหาร ติดตามกํากับ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมให้ครูมีคุณธรรม
จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม มีระบบแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ ติดตามกํากับ
การดูแลสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ให้สะอาดสวยงามเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน มีระบบประกันคุณภาพ
ภายใน ซึ่งผลการประเมินภายนอก รอบ 4 ได้ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม ทุกมาตรฐาน จัดทําข้อมูลสารสนเทศเป็น
ปัจจุบัน จัดเก็บอย่างเป็นระบบในรูปแบบไฟล์โปรแกรมสําเร็จรูป และรูปเล่มเอกสาร ผู้บริหารและคณะครูได้รับ
รางวัลระดับชาติอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองมีความมั่นใจในตัวผู้บริหาร บุคลากรและโรงเรียน มีคณะมาศึกษาดูงาน
อย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา ทั้งในเขตพื้นที่ นอกเขตพื้นที่ ในจังหวัด และต่างจังหวัด
ด้านที่4 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ พบว่า ครูมีนวัตกรรมและวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ออกแบบการเรียนรู้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ องค์ความรู้ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์จัด
กิจกรรมตามขั้นตอนที่กําหนดในแผนการสอน นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม อภิปราย นําเสนองาน และใช้
เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลาย คิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความกระตือรือร้น ใส่ใจใฝ่เรียนรู้ยอมรับ
ความแตกต่างของผู้อื่น อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการวัดผลประเมินผล
ด้วยวิธีการที่หลากหลายและนําผลการประเมินมาปรับปรุงการเรียนการสอน นักเรียนมีการประเมินตนเอง
ด้านที่5 ความดีเด่นของสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนผ่านการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ ในปีการศึกษา 2562 มีแหล่งเรียนรู้ที่ สมบูรณ์โดยมีนักเรียนแกนนําเผยแพร่ไปสู่ชมชน มีคณะมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา โรงเรียนมี ห้องสมุดที่เป็นต้นแบบ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน มีคณะมาศึกษาดูงานห้องสมุดเป็นประจํา โรงเรียนได้รับความ
ร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด นักเรียนปลอดยาเสพติดคิดเป็นร้อยละ 100
โรงเรียนได้รับรางวัลสถานศึกษาสีขาว ระดับเพชร จากสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 ใน
ปีการศึกษา 2562
การดําเนินงานตามกลยุทธ์เหล่านี้ส่งผลให้โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ได้รับรางวัลสถานศึกษา
พระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ขนาดเล็ก ในปีการศึกษา 2562 และได้รับโล่พระราชทานจัดการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพดีเยี่ยม จนได้รับพระราชทาน 3 ครั้ง ในรอบ 10 ปีได้แก่ ปีการศึกษา 2554, 2558
และ 2562 ให้ไว้ณ ปีการศึกษา 256