ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการการสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
ผู้ศึกษา นางสาวณัฐชา โคยามา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการการสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการการสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน บ้านด่านลานหอยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการการสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการการสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ดำเนินการประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel. L Stufflebeam) ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินในครั้งนี้ จำนวน 299 คน ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 17 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 4 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 277 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือแบบสอบถามความคิดเห็น แบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการการสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย โดยผู้บริหาร และครู ตอบแบบสอบถามครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ตอบแบบสอบถามด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยมีลักษณะเป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ประกอบด้วย 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean : x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
ผลการประเมินโครงการการสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านด่านลานหอยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.64, S.D. = 0.17) โดยแยกเป็นผลการประเมินแต่ละด้านได้ ดังนี้
ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65, S.D. = 0.15)
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.57, S.D. = 0.18)
ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.79, S.D. = 0.11)
ด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.57, S.D. = 0.25) โดยแยกเป็นผลการประเมินแต่ละด้านได้ ดังนี้
ด้านความรู้ มีผลการประเมินในระดับมาก (x̄ = 4.41, S.D. = 0.19)
ความมีคุณธรรม มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.61, S.D. = 0.27)
ความพอประมาณ มีผลการประเมินในระดับมาก (x̄ = 4.49, S.D. = 0.26)
ความมีเหตุผล มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.58, S.D. = 0.22)
ความมีเหตุผล มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55, S.D. = 0.23)
ผลลัพธ์ของโครงการ มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.78, S.D. = 0.29)