ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของโรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
ผู้รายงาน นายโยธิน ตาน้อย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาปลากั้ง
ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation: C) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้าน นาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาแพร่ เขต 2 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I) โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาแพร่ เขต 2 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation: P) โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation: P) โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 โดยกลุ่มตัวอย่าง ในการประเมินโครงการนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ รวม 40 ข้อคำถามและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
จากการประเมินผลการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการประเมินผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.51 , S.D. = .52) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เป็นลำดับแรก คือ ด้านผลผลิต ( = 4.69, S.D. =.75) รองลงมา คือ ด้านบริบท ( = 4.65, S.D. =.34) ด้านกระบวนการ ( = 4.60, S.D. =.56) และด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.08, S.D. =.41) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน ปรากฎดังนี้
1.1 ด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน บ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = .34) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทั้ง 3 ด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.76, S.D. =.23) รองลงมา คือ ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ( = 4.63, S.D. =.32) และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.52, S.D. = .52) เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายข้อจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรกได้แก่ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเป็นไปเพื่อช่วยเหลือ นักเรียน ให้เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข ( = 4.89, S.D. = .10) รองลงมาคือ หลักการและเหตุผลของโครงการสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด ( = 4.83, S.D. = .14) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันกับ โครงการมีความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ( = 4.83, S.D. = .14) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ เจตคติ ความรู้ ความเข้าใจ ของบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ( = 4.33, S.D. = .67)
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน บ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = .41) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.55, S.D. =.36) รองลงมาได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. =.49) ด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก ( = 3.88, S.D. = .40) และ ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก ( = 3.80, S.D. = .43) ด้านวัสดุอุปกรณ์ อยู่ในระดับมาก ( = 3.76, S.D. = .39) เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายข้อจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรกได้แก่ โรงเรียนดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ ( = 4.56, S.D. = .39) รองลงมาคือ โรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของโครงการ ( = 4.54, S.D. = .33) การมีส่วนร่วมผู้ปกครองนักเรียนในการดำเนินโครงการ ( = 4.43, S.D. = .47) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ งบประมาณเหมาะสม เพียงพอ ต่อการดำเนินโครงการ ( = 3.67, S.D. = .44)
1.3 ด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = .56) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านกระบวนการปรับปรุง พัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. =.54) รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. =.55) ด้านกระบวนการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = .60) และ ด้านกระบวนการตรวจสอบ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( = 4.57, S.D. = .58) เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายข้อจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ( = 4.76, S.D. = .46) รองลงมาคือ วิเคราะห์นำผลการประเมินเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนา สู่การดำเนินการในระยะต่อๆ ไป ( = 4.69, S.D. = .54) วางแผนบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเหมาะสม เป็นระบบครบวงจร ( = 4.67, S.D.=.53) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ขั้นตอนการส่งต่อ ( = 4.47, S.D. = .60)
1.4 ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน บ้านนาปลากั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = .75) เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ นักเรียนได้รับการพิทักษ์ปกป้อง คุ้มครอง และดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ถูกวิธี และทันเวลา ( = 4.89, S.D. = .67) รองลงมาคือ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพและตรงตามความสามารถ ( = 4.80, S.D. = .71) นักเรียนมีทักษะชีวิต คุณภาพชีวิตที่ดี ( = 4.78, S.D. =.72) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระฯ เพิ่มขึ้น ( = 4.46, S.D. = .78)