ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผู้วิจัย ณัชญานุช สุดชาดี
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นวิทยาการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) แบบแผนขยายความ (Explanatory Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดทำหลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานและการจัดการเรียนรู้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 (2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานและการจัดการเรียนรู้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อหลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การจัดทำหลักสูตร มีกระบวนการจัดทำโครงการ แต่งตั้งคณะทำงาน จัดทำหลักสูตรและเชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (Multi Attribute Consensus Reaching : MACR) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรเชิงคุณภาพของหลักสูตร ระยะที่ 2 นำหลักสูตรไปทดลองใช้ กับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสมัครใจ จำนวน 30 คน และมีการทดสอบก่อนการฝึกอบรมตามหลักสูตร ระหว่างการฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรม และระยะที่3 ประเมินหลักสูตรและความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมายคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ทั้งสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 250 คน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า
1) ความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและการจัดการเรียนรู้สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ทั้ง 10 ประเด็นการพิจารณาความสอดคล้อง พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 94.48 88.36 พิสัยอยู่ระหว่าง 10 - 12 ประเด็นการพิจารณาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความสอดคล้องด้านกิจกรรมการฝึกอบรมแต่และหัวข้อวิชาเหมาะกับสื่อเทคโนโลยี มีค่าAเฉลี่ย 94.48 พิสัยเท่ากับ 10 รองลงมาคือ ความสอดคลองของแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ย 93.54 พิสัยเท่ากับ 10 รองลงมาคือ ความสอดคล้องของเนื้อหามีประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 92.13 พิสัยเท่ากับ 10 ส่วนความสอดคล้องที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ ด้านแผนการฝึกอบรมของหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 88.36 พิสัย 12
2) ผู้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตร มีคะแนนระหว่างอบรมตามหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 48.93 จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.56 และคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบก่อนอบรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.00 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 56.67 และผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนจากแบบทดสอบหลังอบรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.96 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.56 สูงกว่าคะแนนก่อนการฝึกอบรมตามหลักสูตร
3) ผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1) หลักสูตรมีองค์ประกอบครบถ้วน 2) วัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระสอดคล้องกับจุดประสงค์การฝึกอบรม 4) เนื้อหาสอดคล้องมีการเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก 5) กิจกรรมหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับการอบรมพัฒนา6) การวัดประเมินผลมีความสอดคล้องเหมาะสม 7) เนื้อหามีประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ 8) กิจกรรมการฝึกอบรมแต่และหัวข้อวิชาเหมาะกับสื่อเทคโนโลยี 9) แอพพลิเคชั่นเหมาะสมกับการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ 10) หลักสูตรมีสื่อ/แหล่งเรียนรู้เหมาะสมกับผู้รับการอบรม
4) ระดับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก มีค่า เฉลี่ยเท่ากับ 4.22 (x̄ = 4.22, S.D. = 0.73) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ครูและบุคลากรมีระดับความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ด้านหลักสูตรจัดให้มีการฝึกทักษะการพูดจากการออกเสียงตามคลิปเสียง มีค่าเฉลี่ย 4.56 (x̄ = 4.56, S.D. = 0.83) รองลงมาคือ หลักสูตรมีสื่อ/แอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมกับผู้รับการอบรม โดยมีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ เท่ากับ 4.43 ( x̄= 4.43, S.D. = 0.75)