สถานศึกษา โรงเรียนบ้านบือจะ
อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3
ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะการจำแนกประเภทจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การจำแนก
สิ่งมีชีวิต โดยใช้สื่อแผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) และวาดภาพประกอบ
รายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบือจะ
ชื่อผู้รายงาน นางสาวนูรอิลฮาม รีจิ
รายวิชา วิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิต
โดยใช้สื่อแผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) และวาดภาพประกอบ รายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบือจะให้
มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) พัฒนาทักษะการจำแนกประเภทของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบือจะที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยใช้สื่อ
แผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) และวาดภาพประกอบ และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบือจะ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง
การจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยใช้สื่อแผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) และวาดภาพประกอบ โดยประชากร
ที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบือจะ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน
26 คน ใน 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยใช้สื่อแผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) และวาดภาพประกอบ
2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิต หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พืชน่ารู้ (หน้าที่และส่วนต่างๆของพืช) และหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สิ่งมีชีวิตรอบตัว (ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต) จำนวน 16 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ว 1.2 ป.4/1 และ ว 1.3 ป.4/1-ป.4/4 จากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 2) แบบประเมินทักษะการจำแนกประเภทจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียนและคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านบือจะ หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยใช้สื่อแผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) และวาดภาพประกอบ รายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่ากับ 53.65 และ 25.38 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.06 และ 1.60 ตามลำดับ โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.42/84.62 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ถือว่าผ่านเกณฑ์และบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ส่วนผลการประเมินทักษะการจำแนกประเภทของนักเรียนหลังการใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยใช้สื่อแผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) และ
วาดภาพประกอบรายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีทักษะการจำแนกประเภทโดยเฉลี่ยเท่ากับ 14.75 คิดเป็นร้อยละ98.33 ซึ่งมีระดับคุณภาพเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์และบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 3) ที่สูงขึ้นอีกด้วย
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยใช้สื่อแผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) และวาดภาพประกอบ รายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านบือจะ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.92 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 26.41 และหลังเรียน
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.38 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.62 แสดงว่ามีค่าการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 58.21
ซึ่งถือได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 อีกทั้งเมื่อศึกษาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐานการเรียนรู้ ว 1.2 ป.4/1 และ
ว 1.3 ป.4/1-ป.4/4 เปรียบเทียบในปีการศึกษา 2563 (ก่อนนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้)
ในปีการศึกษา 2564 (ได้นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19) และในปีการศึกษา 2565 (ได้นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Onsite ปกติ) พบว่าในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดดังกล่าว ในปีการศึกษา 2563 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 75.56 ในปีการศึกษา 2564 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 79.72 และในปีการศึกษา 2565 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 89.87 แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 และ 10.15 ตามลำดับ ซึ่งมีการพัฒนาขึ้น เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความสำเร็จในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และยังแสดงให้เห็นว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online และ Onsite