บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลกระทบของโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครู จำนวน 12 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 จำนวน 54 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53) โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59) และครูมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดมากที่สุด ( = 4.59)
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53) โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.48) และครูมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดมากที่สุด ( = 4.56)
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) และเมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า รายการที่มีความเหมาะสมสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนมีการกำกับติดตามผลการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ( = 4.75) ส่วนรายการที่มีความเหมาะสมต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ( = 4.17) สรุปได้ว่าประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ ได้แก่ ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ครูมีความเห็นว่าประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61)
4.2 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย ปีการศึกษา 2564 พบว่าคะแนนเฉลี่ย GPA ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2564 โดยเฉลี่ยรวมค่าเฉลี่ย GPA เท่ากับ 3.10 เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับชั้นพบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย GPA เท่ากับ 3.18 รองลงมาได้แก่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย GPA เท่ากับ 3.12 ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย GPA ต่ำสุด เท่ากับ 2.98 และสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย ปีการศึกษา 2564 โดยเฉลี่ยรวมสมรรถนะนักเรียนทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับดีและระดับดีมาก ร้อยละ 95.79 อยู่ในระดับพอใช้และปรับปรุง ร้อยละ 4.21
5. ผลประเมินผลกระทบของโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครูในโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยกระบวนการชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63) และครูมีความพึงพอใจต่อต่อโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62)
สรุปได้ว่าผลการประเมินโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย ปีการศึกษา 2564 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่าด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็นผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ค่าเฉลี่ย GPA ≥ 2.00 และสมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับดี- ดีมาก ≥ ร้อยละ 90 และทุกประเด็นตัวชี้วัดสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยกระบวนการชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย ที่ได้จากการประเมินโครงการในแต่ละด้าน สรุปได้ดังนี้
1. โรงเรียนควรนำผลการนำระบบข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการมาใช้ในการวางแผนอย่างเหมาะสม
2. ควรนำผลการประเมินโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนบ้านขุนแม่ตื่นน้อย เสนอหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานภายนอกและผู้ปกครองนักเรียน เพื่อให้ได้รับงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ
3. ควรมีการการวางแผน การปฏิบัติงานการดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ควรจัดให้มีโครงการนิเทศการสอนตามแนววิถีใหม่ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นโครงการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา และมีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการเพื่อนำผลไปปรับปรุงครั้งต่อไป
5. โรงเรียนควรพัฒนาการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโครงการนิเทศการสอนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอจนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัดและมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นได้