ผู้วิจัย : นายศิริสิทธิ์ จุลนัน
การวิจัยนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก จำนวน 31 คน โดยรูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) 1) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบก่อนเรียน การเรียนรู้ผ่านชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) 2) แบบทดสอบหลังเรียน การเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวิจัยพบว่า
ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อดำเนินงานวิจัย พบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ของผลการทำสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และร้อยละของนักเรียนที่มีผลการทดสอบผ่านเกณฑ์ที่ร้อยละ 60 ขึ้นไป โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยที่ 9.48 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยที่ 16.52 เพิ่มขึ้น 6.77 คะแนน และ นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม ก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 22.58 และหลังเรียนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 100 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 77.42
2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม การออกแบบเชิงวิศวกรรม รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี 1 นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ ดีมาก ร้อยละ 80.58 ประกอบด้วย ด้านรูปแบบและเนื้อหา ความพึงพอใจในระดับ ดีมาก ร้อยละ 87.09 ด้านรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ความพึงพอใจในระดับ ดีมาก ร้อยละ 70.97 และด้าน ภาพรวมของชุดกิจกรรม ความพึงพอใจในระดับ ดีมาก ร้อยละ 83.87
จากผลข้างต้นสะท้อนชัดเจนว่า การใช้ชุดกิจกรรมดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้กับนักเรียนในเนื้อหาประเด็นที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสามารถสรุปได้ว่าจากผลการทดสอบดังกล่าวแสดงให้เห็นข้อชัดเจนประเด็นที่ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สามารถเป็นนวัตกรรมการสอนที่ช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสนใจในเนื้อหาวิชา และสนุกกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการมากกว่าการบอกท่องจำ โดยเห็นผลจากผลด้านการใช้นวัตกรรมดังกล่าวที่แสดงมาข้างต้น