บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยาปีการศึกษา 2564
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย จำนวน/ปริมาณ และระดับคุณภาพโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิคมวิทยา ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิคมวิทยา ต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ใช้ในการประเมินกลุ่มตัวอย่างในการประเมินประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 317 คน ครูโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 73 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 317 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 7 ฉบับ แบบันทึกจำนวน/ปริมาณ การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียน ใช้บันทึกผลการประเมินตามสภาพจริงปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.75-0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิคมวิทยา พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ( x̄ = 4.44,S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู โดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก ( x̄ = 4.20,S.D. = 0.66) อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของ ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิคมวิทยาพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด (x̄ = 4.40 , S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 แสดงจำนวน/ปริมาณการระดมทรัพยากรทางการศึกษา
4.1.1 ทุนการศึกษา จำนวนเงิน 250,000 บาท
4.1.2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มูลค่าจำนวน 200,000 บาท
4.1.3 งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ สิ่งอำนวยสะดวกและการบริหารจัดการ จำนวนเงิน 121,500 บาท
4.1.4 สื่อนวัตกรรม สื่อเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ปรุบปรับสนามกีฬา 1,800,000 บาท
4.1.5 บุคลากรจัดอบรมความรู้ด้านต่างๆ แก่นักเรียน จำนวน 26 ครั้ง ครอบคลุมการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น ตามความต้องการจำเป็นของการจดัการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.1.6 ชุมชนสัมพันธ์ (ธาราพาโชค ร่วมกับศาลหลวงเตี่ย กม.12) เงินสด จำนวนเงิน 312,659 บาท และบริจาคสิ่งของจำนวน 104 รายการ เป็นเงิน 120,000 บาท
4.2 แสดงผลระดับคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านทรัพยากรการเงิน ด้านทรัพยากรวัสดุ อุปกรณ์ และด้านทรัพยากรการจัดการ ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน
ตามความคิดเห็นของครู โดยรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด (x̄ = 4.32,S.D. = 0.65) อยู่ในระดับมาก
4.3 แสดงผลด้านการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรด้านบุคคล ทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพยากรด้านวัสดุ อุปกรณ์ ทรัพยากรด้านการจัดการ ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิคมวิทยา ตามประเด็นตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ( x̄ = 4.26 , S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมาก
4.4 แสดงผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิคมวิทยา ตามประเด็นตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด (x̄ = 4.31 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมาก
4.5 ผลการประเมินคุณภาพภายในสภานศึกษาตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเลิศ ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิคมวิทยา ที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 พบว่าทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด (x̄ = 4.49, S.D. = 0.53) อยู่ในระดับมาก
สรุปผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยมีชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนนิคมวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ทุกประเด็นตัวชี้วัดมีคะแนนประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ พบว่า ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษายังไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู ควรนำจุดด้อยที่พบไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า วัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ควรจะต้องมีการประสานเพื่อขอการสนับสนุนเพิ่มเติม
3. ด้านกระบวนการของโครงการ พบว่าการนำผลการประเมินการปรับปรุงพัฒนา
และการติดตามผล ยังมีการนิเทศกำกับติดตามน้อยเกินไป ควรมีการวางแผนและกำหนดปฏิทิน
การนิเทศการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ
โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2. ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการดำเนินตามโครงการต่อไป