ชื่อผลงาน การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดคมนียเขต
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ผู้ประเมิน นางวิลาวัณย์ ประสมกิจ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคมนียเขต
หน่วยงานที่สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพังงา
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพังงา ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1คน ครู จำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 136 และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 136 รวมทั้งสิ้นจำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม ทั้งก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ IOC หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และสัมประสิทธิ์แอลฟ่า หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ผลการประเมินโครงการ และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา 2564ตามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.49) โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.46) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและส่งเสริมพัฒนานักเรียนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.47) และความร่วมมือของครูที่รับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.48)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน วัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.49) โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ บุคลากรมีจำนวนเพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.48) รองลงมา คือ บุคลากรได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.49) และระยะเวลาเหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.49)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน วัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.50) โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ กิจกรรมส่งผลให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพปัญหา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.46) รองลงมา คือ กิจกรรมทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.47) และกิจกรรมช่วยสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างครูกับนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.48)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน วัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.46) โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87, S.D. = 0.34) รองลงมา คือได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D. = 0.41) และการดำเนินงานโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.45)
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดคมนียเขต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา จะเห็นได้ว่าควรดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดประสิทธิผล ตามข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ด้านบริบทของโครงการ ควรชี้แจงทำความเข้าใจกับนักเรียนและผู้ปกครองถึงกิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1.การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2.การคัดกรอง 3.การส่งเสริมและพัฒนา 4.การช่วยเหลือแก้ไข 5.การส่งต่อ ซึ่งเป็นการดูแลนักเรียนรอบด้าน รวมถึงด้านผลการเรียน ดังนั้น จึงสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้ และควรชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครองให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และควรกำกับติดตามการดำเนินงานตามโครงการโดยต่อเนื่อง 2. ด้านปัจจัยนำเข้า ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรโดยรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรภายนอก หรือพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ให้คำแนะนำช่วยเหลือ และติดตามผลใน การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และควรจัดงบประมาณสนับสนุนแต่ละกิจกรรมให้เพียงพอเพื่อให้การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ด้านกระบวนการ ควรปรับปรุงวิธีการและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลให้สอดคล้องกับกิจกรรม สรุปผลและจัดทำสารสนเทศ และเพิ่มกิจกรรมให้สอดคล้องกับกระบวนการการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4. ด้านผลผลิต ควรกำหนดวัตถุประสงค์ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อการขับเคลื่อนโครงการอย่างถูกทิศทางและประสบความสำเร็จตามที่ตั้งไว้
5. จากการประเมินโครงการระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียนโรงเรียนวัดคมนียเขต พบว่า ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมากที่สุด จึงควรจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องให้เหมาะกับความต้องการและสภาพปัญหาของนักเรียนเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ให้มากยิ่งขึ้นไป นอกจากนี้ควรหาข้อมูลหรือทำวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่นักเรียนต่อไป