ชื่อรายงาน: รายงานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน: นายนิวัติ พอใจ
ตำแหน่ง: รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา
สังกัด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
การดำเนินโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2564 เป็นการบริหารจัดการโดยการนำนโยบายของสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปีงบปะมาณ 2564 2565 เป็นตัวขับเคลื่อนในการบริหาร เพื่อมุ่งเน้นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นความปลอดภัย การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และบริหารจัดการการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย นโยบายด้านความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ และการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภารกิจหลักที่เป็นองค์ประกอบของการดำเนินงาน 5 กิจกรรม เข้าสู่การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับห้องเรียน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน และการส่งต่อนักเรียน โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (Deming Cycle) ขับเคลื่อนการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นจึงมีการประเมินผลการดำเนินงานและนำมารายงานผลการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์ของการรายงานดังนี้
1) เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
2) เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาสู่ผู้เรียนได้อย่างครอบคลุมองค์ประกอบ 5 ด้าน
3) เพื่อรายงานผลการสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ผลการดำเนินงาน
1. ผลการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชุมชน บ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2564 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 การดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามองค์ประกอบหลักของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 องค์ประกอบ ได้ดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนผ่านกิจกรรมเสริมในด้านต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมด้านวิชาการ การส่งเสริมด้านทักษะชีวิต การส่งเสริมด้านความปลอดภัย และการส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้กำหนดโครงการลงสู่แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2564 โดยกำหนดกิจกรรมและโครงการให้ครอบคลุมกรอบนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีงบประมาณ 2564 -2565 มีการดำเนินกิจกรรมโครงการ 13 โครงการ และมีโครงการสนับสนุนส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยโครงการหลักคือโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดำเนินการผ่านครูที่ปรึกษา และโครงการที่ใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุน จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ โครงการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ โครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และโครงการสนับสนุนทุนการศึกษา ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน ครู บุคลาการทางการศึกษา ทั้งระบบ
1.2 ผลการส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษา จำนวน 24 คน สู่ผู้เรียนได้อย่างครอบคลุมองค์ประกอบ 5 ด้าน กล่าวคือ การส่งเสริมความเข้าใจด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดทำเอกสารข้อมูลชั้นเรียนเพื่อใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลตามองค์ประกอบของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการปรับปรุงและแก้ปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน โดยใช้แบบสอบถามรายชั้น ลักษะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ พบว่าครูที่ปรึกษาภาพรวมมีการดำเนินจัดทำข้อมูลแต่ละด้าน มีการปฏิบัติรวมทุกด้านอยู่ในระดับปฏิบัติมาก (a=4.44, u=0.50)
2 ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ครู และสถานศึกษา จากการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2564 ด้านผู้เรียน ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2564 สูงกว่า ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และระดับประเทศ ทุกรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษา สูงกว่า ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และระดับประเทศ สองรายวิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2564 นักเรียนได้รับทุนการศึกษาจาก 9 องค์กร จำนวน 140 ทุน ระดับมัธยมศึกษาได้รับการส่งเสริมพื้นฐานความถนัดด้านอาชีพร่วมกันวิทยาลัยสารพัดช่าง ได้แก่ ช่างคอมพิวเตอร์ ช่างเชื่อม และช่างตัดผม จำนวน 52 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 หลังสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ ได้ศึกษาต่อทั้งหมด 37 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับรางวัลในการแข่งขัน ระดับกลุ่มอำเภอ ระดับท้องถิ่น และจังหวัด จำนวน 35 รายการ ด้านครูและบุคลากร ทางการศึกษา ได้รับรางวัลและการยกย่องเชิดชูเกียรติ จำนวน 18 รางวัล และด้านสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2564 ได้รับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับเขตพื้นที่ ระดับเหรียญทอง และได้เป็นตัวแทนเขตพื้นที่เข้าแข่งขันระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับภูมิภาค ส่งผลให้ได้รับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับเหรียญทอง ระดับภูมิภาค และปีงบประมาณ 2565 ได้รับรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับดีเด่น รวมถึงรางวัลที่สถานศึกษาได้รับในปีงบประมาณ 2564 2564 จำนวน 17 รายการ
3. ผลการดำเนินการด้วยกรอบนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2565 ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ซี่งมีการดำเนินการด้วยโครงการหลักคือโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีโครงการส่งเสริมเพื่อสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2565 ทั้งหมด 13 โครงการ ส่งให้เกิดผลจากการประเมินสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อโครงการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการดำเนินสอบถามความพึงพอใจที่มีการดำเนินการตามนโยบายของสถานศึกษาที่สอดรับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกอบด้วย ด้านความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ ลักษะแบบสอบถามความพึงพอใจเป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ โดยเมื่อพิจารณารายกลุ่มพบผลการประเมินความพึงพอใจดังนี้ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยามีประชากรจำนวน 15 คน พบว่าความพึงพอใจโดยรวมทั้ง 4 นโยบายอยู่ในระดับปฏิบัติมาก (a=4.31, u=0.61) 2) นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยาใช้กลุ่มตัวอย่าง 100 คน ความพึงพอใจโดยรวมทั้ง 4 นโยบาย อยู่ในระดับปฏิบัติมาก ( x̄=4.31, S.D =0.64) และ 3) กลุ่มผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยาใช้กลุ่มตัวอย่าง 100 คน ความพึงพอใจโดยรวมทั้ง 4 นโยบาย อยู่ในระดับปฏิบัติมาก ( x̄=4.20, S.D=0.65)