การประเมินโครงการส่งเสริมสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนบ้านห้วยน้ำโจน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินส่งเสริมสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนบ้านห้วยน้ำโจน โดยใช้การประเมิน ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยน้ำโจน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 45 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบท (Context) โดยรวมมีระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โครงการสอดคล้องกับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยรวมมีระดับความพร้อม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ครูและบุคลากรมีความตั้งใจ และให้ความร่วมมือสนับสนุนโครงการ มีระดับความพร้อม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมมีระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โรงเรียนประสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น/บุคคลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ/แหล่งเรียนรู้ (ฐานเรียนรู้การเพาะเห็ดภูฐาน การดูแลสุขอนามัย การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย (กล้วยทอด กล้วยกรอบ) การทำพรมเช็ดเท้า และนิมนต์พระมาสอนศีลธรรม) และดำเนินการส่งเสริมให้วิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้กับนักเรียนตามแผน มีระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาผลการประเมินด้านกระบวนการเป็นรายขั้น มีผลการประเมินดังนี้
3.1 ขั้นการวางแผน (Plan-P) โดยรวมมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ และความสำคัญของโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และกำหนดกิจกรรมและมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก
3.2 ขั้นการดำเนินการ (Do-D) โดยรวมมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โรงเรียนประสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น/บุคคล เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ/แหล่งเรียนรู้ (ฐานเรียนรู้การเพาะเห็ดภูฐาน การดูแลสุขอนามัย การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย (กล้วยทอด กล้วยกรอบ) การทำพรมเช็ดเท้า และนิมนต์พระมาสอนศีลธรรม) และดำเนินการส่งเสริมให้วิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้กับนักเรียนตามแผน มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก
3.3 ขั้นการติดตามและประเมินผล (Check-C) โดยรวมมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ผู้บริหารตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบบันทึกผลการใช้แหล่งเรียนรู้ของครู และโรงเรียนประเมินความพึงพอใจการใช้แหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก
3.4 ขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนา (Act-A) มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก คือ โรงเรียนนำข้อมูลจากการรายงานไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
4. ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมมีระดับผลสำเร็จจากการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนมีความสุขและมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนสูงขึ้น มีระดับผลสำเร็จจากการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด