ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้ประเมิน สายสุดา ฤทธิยงค์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัย การประเมินโครงการโรงเรียนโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจ (Satisfaction Evaluation) ของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐานโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิปป์ CIPP (Context-Input-Process-Product Model : CIPP Model ; Daniel Stufflebeam,1971) ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมในการหาข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน พร้อมทั้งจัดทำกรอบการประเมินและร่างเค้าโครงการประเมิน และกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินตามประเด็น กลุ่มเป้าหมาย ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 32 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน จำนวน 13 คน และผู้ปกครอง (ประธานเครือข่ายผู้ปกครอง) จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียน จำนวน 226 คน โดยใช้ตารางสุ่มของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็น (Checklist) และแบบสอบถามความพึงพอใจ ประมาณค่า 5 ระดับ (Likert, 1932) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดลองใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อมของโครงการโรงเรียนปลอดขยะโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน ในภาพรวมตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม (= 4.70) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงาน เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความพร้อมและความเพียงพอของปัจจัยต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดการ งบประมาณ คน วัสดุ/ อุปกรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.73) ซึ่งมีตัวชี้วัดหลัก 8 ตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และทุกประเด็นผ่านเกณฑ์ การประเมินที่ตั้งไว้
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนปลอดขยะโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.42) เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดในการประเมินกระบวนการของโครงการฯ ซึ่งมี 9 ตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไป
4. ผลการประเมินความสำเร็จในการดำเนินงาน โดยการประเมินผลผลิตของโครงการตามวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม (= 4.54)
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งทุกกลุ่ม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากขึ้นไป โดยกลุ่มที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวม (= 4.61) รองลงมา คือ กลุ่มผู้บริหาร ครู มีค่าเฉลี่ยรวม (= 4.55) และกลุ่มผู้ปกครองทีความพึงพอใจน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม มีค่าเฉลี่ยรวม (= 4.39)