ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงาน
ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้วิจัย สายสุดา ฤทธิยงค์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอน คือ วิจัย (R1) พัฒนา (D1) วิจัย (R2) และพัฒนา (D2) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 36 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครอง จำนวน 18 คน และตัวแทนชุมชน จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน จำนวน 226 คน โดยใช้ตารางสุ่มเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ (1 ฉบับ) แบบบันทึกประเด็นศึกษาข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน (1 ฉบับ) แบบสอบถาม (2 ฉบับ) แบบประเมิน (5 ฉบับ) ประเด็นสนทนากลุ่ม (1 ฉบับ) คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น (1 ฉบับ) และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม (1 ฉบับ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และยกร่างรูปแบบฯ โดยผู้วิจัยประเมินความเหมาะสมของรูปแบบรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น (ฉบับร่างที่ 1) ครั้งที่ 1 โดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล และครั้งที่ 2 ประเมินโดยประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (focus group) ในการทดลองใช้รูปแบบฯ ทำการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น ความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบ การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม และผลกระทบที่ได้รับจากการใช้รูปแบบรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยผู้เกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม แล้วนำเสนอรูปแบบรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน จากขั้นตอนที่ 1 วิจัย (Research : R1)
1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริบทของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนกำหนดโครงสร้างการบริหารงานทั้ง 4 ฝ่าย ได้แก่ บริหารงานวิชาการ บริหารงานแผนและงบประมาณ บริหารงานบุคคล และงานบริหารทั่วไป มีการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนครอบคลุมการพัฒนา ทุกด้าน มีความทันสมัย และเป็นไปได้ เปิดโอกาสในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียนมีจำนวนเท่ากับปีการศึกษาที่แล้ว ด้วยระหว่างเทอมจะมีนักเรียนย้ายจากถิ่นอื่นมาเข้าโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน ทำให้จำนวนผู้เรียนไม่ลดลง และแนวโน้มในอนาคตจะมีนักเรียนย้ายจากที่อื่นๆ เข้ามาเรียนมากขึ้นบ่งบอกถึงคุณภาพการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง และชุมชน จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อเทียบกับสัดส่วนของนักเรียนแล้วมีจำนวนเพียงพอเป็นไปตามเกณฑ์ ด้านข้อมูลชุมชน เป็นชุมชนเมือง ประชาชนร้อยละ 80 ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ค่อนข้างต่ำ
1.2 ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน การวิเคราะห์สภาพของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิเคราะห์ปัญหาของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะ ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด คือ ด้านผู้ปกครอง/ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารแบบมีส่วนร่วม และไม่มีเวลา ด้านคณะกรรมการสถานศึกษาไม่สามารถมาเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาได้ทุกครั้ง และขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านสถานศึกษายังไม่มีรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม และขาดการประชาสัมพันธ์ชี้แจงนโยบายการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านครูขาดความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นและไม่กล้าตัดสินใจ และด้านผู้บริหารสถานศึกษาไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมครูจากการเป็นผู้ปฏิบัติมาเป็นการร่วมคิดและร่วมตัดสินใจได้ การวิเคราะห์ความต้องการบรรลุเป้าหมายภาพความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการมากที่สุด คือ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตระดับดี
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (Development: D1) ผลการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น โดยรูปแบบมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ชื่อของรูปแบบ ส่วนที่ 2 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ส่วนที่ 4 ภาพความสำเร็จของการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น จากขั้นตอนที่ 3 วิจัย (Research : R2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม และผลการประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก - มากที่สุด โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยนำเข้า
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น จากขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (Development : D2) ผลการประเมินจากความคิดเห็น ของนักเรียนเกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิและอาชีพ ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาเป็น