ผู้วิจัย : นางชะอ้อน ช่วยบำรุง
ปีที่ทำการวิจัย: 2563
คำสำคัญ : หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม/นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์/ทักษะปฏิบัติ/ทักษะการคิดสร้างสรรค์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ระบำหัตถกรรมทำน้ำตาล ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดสร้างสรรค์ (PPCAE Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่องนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ระบำหัตถกรรมทำน้ำตาล ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดสร้างสรรค์ (PPCAE Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2.1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระนาฏศิลป์ของนักเรียน (2.2) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์ (2.3) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ และ (2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ระบำหัตถกรรมทำน้ำตาล ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดสร้างสรรค์ (PPCAE Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสมหวัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ระบำหัตถกรรมทำน้ำตาล ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดสร้างสรรค์ (PPCAE Model), แผนการจัดการเรียนรู้, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แบบประเมินทักษะปฏิบัติ, แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ระบำหัตถกรรมทำน้ำตาล ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดสร้างสรรค์ (PPCAE Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1) แนวคิด 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมายในการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม 4) คำอธิบายวิชา 5) โครงสร้างรายวิชา 6) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ และ 7) การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนนำทักษะนาฏศิลป์มาสร้างสรรค์ผลงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งหลักสูตรมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.91
2. ผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่องนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ระบำหัตถกรรมทำน้ำตาล ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดสร้างสรรค์ (PPCAE Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและ หลังจากทดลองใช้ แตกต่างกันโดยมีคะแนนผลเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยความรู้ความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียน (X-Bar= 16.63, S.D. = 1.88) สูงกว่าก่อนเรียน (X-Bar = 9.63, S.D. = 2.22)
2.2 ผลพัฒนาการความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการทดลองใช้ อยู่ในระดับดีมาก (X-Bar = 16.53, S.D. = 0.239) พบว่า นักเรียนมีทักษะปฏิบัติท่ารำที่พัฒนา เป็นอันดับ 1 (X-Bar = 18.03, S.D. = 1.351)
2.3 ผลพัฒนาการความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการทดลองใช้ อยู่ในระดับดีมาก (X-Bar = 13.91, S.D. = 0.151) พบว่า นักเรียน มีทักษะการคิดสร้างสรรค์ท่ารำ เป็นอันดับ 1 (X-Bar = 14.10, S.D. = 1.126)
2.4 ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ ชุด ระบำหัตถกรรมทำน้ำตาล ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดสร้างสรรค์ (PPCAE Mode) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X-Bar = 4.41, S.D. = 0.65)