ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวอุมาพร นารินทร์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่ศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การรายงานการประเมินโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน 3) ประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน เพื่อพิจารณาความพึงพอใจของนักเรียนต่อผลผลิตที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยใช้การประเมินตามรูปแบบการประเมินแบบจำลองชิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างหาโดยการคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane, 197, p.727-728) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และยอมให้มีความคลาดเคลื่อน .05 ซึ่งประกอบด้วยครู จำนวน 89 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่เป็นกรรมการที่เป็นผู้แทนครู) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 325 คน และนักเรียน จำนวน 325 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 752 คน แต่เนื่องจากครูมีจำนวนเพียง 89 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่เป็นกรรมการที่เป็นผู้แทนครู) จึงใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และสำหรับการเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน การประเมินโครงการ ได้แก่ แบบประเมินโครงการ จำนวน 5 ฉบับ รวม 95 ข้อ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1) ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน ในภาพรวมตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 6 ข้อ และระดับมากจำนวน 4 ข้อ โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (v = 4.74, S.D. = 0.44) และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โครงการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄= 4.43, S.D. = 0.50) ตามลำดับ
2) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน ในภาพรวมตามความคิดเห็นของครู อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.57, S.D. = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 8 ข้อ และระดับมากจำนวน 5 ข้อ โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แผนงาน/โครงการมีความเหมาะสม ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.87, S.D. = 0.34) และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ งบประมาณที่สนับสนุนในการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄ = 4.20, S.D. = 0.40) ตามลำดับ
3) ด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน ในภาพรวมตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59, S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 8 ข้อ และระดับมากจำนวน 4 ข้อ โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสรุปรายงานผลการปฏิบัติงานในรอบปี มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.84, S.D. = 0.37) และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นำผลการประเมินมาปรับปรุงการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄ = 4.41, S.D. = 0.49) ตามลำดับ
4) ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน ในภาพรวมตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้
4.1) ผลผลิตกิจกรรมโรงเรียนสะอาด บรรยากาศร่มรื่น ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 ข้อ และระดับมากจำนวน 3 ข้อ โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีองค์ความรู้ในเรื่อง การทำโรงเรียนให้แลดูสะอาด น่าอยู่ น่าใช้ การดูแลรักษาความสะอาดในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.66, S.D. = 0.47) และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มที่และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄ = 4.42, S.D. = 0.49) ตามลำดับ
4.2) ผลผลิตตามกิจกรรมพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 ข้อ และระดับมากจำนวน 3 ข้อ โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีองค์ความรู้ในเรื่อง การปรับปรุง ช่อมแชมระบบสาธารณูปโภคภายในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.65, S.D. = 0.48) และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ เกิดความร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่มีส่วนร่วมทุกฝ่าย มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄ = 4.42, S.D. = 0.49) ตามลำดับ
4.3) ผลผลิตตามกิจกรรมพัฒนาอาคารสถานที่ ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 ข้อ และระดับมากจำนวน 3 ข้อ โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มที่และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (x̄= 4.63, S.D. = 0.48) และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนรู้จักการวางแผน กระบวนการในการดำเนินกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄ = 4.34, S.D. = 0.48) ตามลำดับ
4.4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนประเทียบวิทยาทาน ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.67, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 9 ข้อ และระดับมากจำนวน 1 ข้อ โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ถนนและทางเดินในบริเวณโรงเรียนมีความสะอาด ปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.80, S.D. = 0.40) และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการจัดพื้นที่ไว้สำหรับให้นักเรียนพักผ่อน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄ = 4.44, S.D. = 0.50) ตามลำดับ