การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ ปีการศึกษา 2564 รวมจำนวน 341 คน จำแนกเป็น ครู จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 193 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 6 จำนวน 130 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ผ่านการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.16 , S.D. = 0.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 5 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนและ ความต้องการของชุมชน ( x̄ = 4.78 , S.D. = 0.42) รองลงมาคือ กิจกรรมการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน ( x̄ = 4.72 , S.D. = 0.46) และส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนให้ใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น ( x̄ = 4.67 , S.D. = 0.48) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ การประสานงานสามารถทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ( x̄ = 4.22 , S.D. = 0.54) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.15 , S.D. = 0.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ครูมีความรู้ ความสามารถ พร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการ ( x̄ = 4.73 , S.D. = 0.46) รองลงมาคือ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ( x̄ = 4.64 , S.D. = 0.50) และ การสนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น ( x̄ = 4.55 , S.D. = 0.52) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมและเพียงพอ ( x̄ = 4.00 , S.D. = 0.63) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.81 , S.D. = 0.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 18 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีการรวบรวมและสรุปผลการประเมินโครงการอย่างเป็นระบบ ( x̄ = 4.89 , S.D. = 0.41) รองลงมา คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ มีความเหมาะสม ( x̄ = 4.88 , S.D. = 0.40) และการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของโรงเรียนในการดำเนินโครงการ (x̄ = 4.87 , S.D. = 0.42) ส่วนรายการที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ ดำเนินการตามแผนงานและปฏิทินที่กำหนด ( x̄ = 4.47 , S.D. = 0.81) มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็น และความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ โดยสอบถามจากครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน หลังเสร็จสิ้นโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 6 ที่มีต่อโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.64 , S.D. = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 8 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรงเรียนมีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม รวมทั้งห้องเรียน และห้องปฏิบัติการ ( x̄ = 4.80 , S.D. = 0.45) รองลงมา คือ โรงเรียนมีการจัดมุมเสริมความรู้ภายในห้องเรียนห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดและมุมหนังสือต่างๆ ( x̄ = 4.77 , S.D. = 0.50) และโรงเรียนมีการส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ( x̄ = 4.76 , S.D. = 0.50) ส่วนรายการที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ โรงเรียนมีการนำวิทยากรจากภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดการเรียนรู้ ( x̄ = 4.43 , S.D. = 0.78) มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ ในโรงเรียนวัดมเหยงค์ ปีการศึกษา 2564 หลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.54 , S.D. = 0.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 9 รายการ โดยเรียงจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความสะอาด สวยงาม ร่มรื่น ของสภาพโรงเรียน ห้องเรียน และห้องปฏิบัติการ ( x̄ = 4.81 , S.D. = 0.39) รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน เช่น สนามหญ้า สวนหย่อม ดูสวยงาม สะอาดเรียบร้อย ( x̄ = 4.68 , S.D. = 0.62) และห้องสมุดมีหนังสือ สิ่งพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู และ มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ( x̄ = 4.66 , S.D. = 0.47) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ ห้องน้ำ ห้องส้วม เพียงพอและสะอาดถูกหลักอนามัย ( x̄ = 4.35 , S.D. = 0.73) มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก