ผู้วิจัย : เบญจพร สมุทรเศรษฐ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความพึงพอใจของประชาชนผู้เข้ารับการอบรมด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อประเมินระดับความรู้ของประชาชนผู้เข้ารับการอบรมด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อประเมินการนำความรู้จากการเข้ารับการอบรมประชาชนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4) เพื่อประเมินผลการเข้ารับการอบรมโครงการอบรมประชาชนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เกิดขึ้นต่อสถานศึกษา และชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เป็นแกนนำชุมชน/ผู้ประกอบการที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ จำนวน 36 คน ในปีงบประมาณ 2564 ทำการประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบเคิร์กแพททริก (Kirkpatriick) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถาม ความพึงพอใจของประชาชนผู้เข้ารับการอบรม แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนการอบรม (Pre-Test) และหลังการอบรม (Post-Test) ของประชาชนผู้เข้ารับการอบรม แบบสำรวจพฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เข้ารับการอบรม แบบสอบถามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อสถานศึกษา และชุมชนของผู้เข้ารับการอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลจากการประเมินความพึงพอใจของประชาชนผู้เข้าอบรมที่มีต่อโครงการอบรมประชาชนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัด ด้านเนื้อหาการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสถานที่ สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ และด้านการน าความรู้ไปใช้ มีค่าเฉลี่ย
ต่ำสุด
2. ผลจากการวิเคราะห์ความรู้ก่อนการอบรม (Pre-Test) และหลังการอบรม (Post-Test) ของประชาชนผู้เข้ารับการอบรมโครงการอบรมประชาชนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมมีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ก่อนการอบรมผ่านเกณฑ์การประเมิน มีความแตกต่างทั้งก่อนการอบรม และหลังการอบรม อย่างเห็นได้ชัด
3. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการน าความรู้ของประชาชนจากการเข้ารับการอบรมโครงการอบรมประชาชนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสม
4. ผลการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากประชาชนผู้ที่เข้ารับการอบรมโครงการอบรมประชาชนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เกิดขึ้นต่อสถานศึกษา และชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสม มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรมประชาชนผลการประเมินโครงการอบรมประชาชนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาของขั้นตอนการประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ขั้นตอน คือ ประเมินความพึงพอใจของประชาชนผู้เข้ารับการอบรม การวิเคราะห์ความรู้ก่อนการอบรม (Pre-Test) และหลังการอบรม (Post-Test) พฤติกรรมการน าความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อสถานศึกษา และชุมชน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกขั้นตอน