ผู้วิจัย : นายสุชาติ วรโพด ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา)
ปีการศึกษา : 2564
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed - Methods) ของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยหลัก มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ
(1) ศึกษาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
(2) การสร้างและพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่
(จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 (3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 และ (4) ประเมินรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ จำนวน 278 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่
(จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่
(จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ประชากร คือ ครูผู้สอนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 111 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ประชากร คือ ครูผู้สอนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่
(จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ผู้วิจัยสามารถสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้
1. ผลการศึกษาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ระดับมากที่สุด
มีจำนวน 94 ข้อ ระดับมาก มีจำนวน 7 ข้อ และความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัด การเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่
(จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 นำผลจากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาเป็นรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การมุ่งเรียนรู้เน้นทีมแบบมีส่วนร่วม องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยการสนับสนุนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ องค์ประกอบที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงาน องค์ประกอบที่ 4 เครือข่ายร่วมรับผิดชอบ องค์ประกอบที่ 5 การปฏิบัติการเรียนการสอนมุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 6 ความร่วมมือร่วมพลังเพื่อมุ่งเน้นผลลัพธ์ องค์ประกอบที่ 7 ความเป็นชุมชนกัลยาณมิตร และองค์ประกอบที่ 8 การเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ร่วมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) มีความคิดเห็นว่า รูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 มีความเหมาะสม
คิดเป็นร้อยละ 100
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่
(จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 พบว่า หลังการใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัด
การเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 นั้น นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพิ่มขึ้นทุกระดับชั้น คิดเป็นร้อยละ 8.60 มีผลการสอบมาตรฐานชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 4.40 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O - NET) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.09 เมื่อพิจารณาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.03 และนักเรียน
มีผลงานจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) เป็นโรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O - NET) สูงกว่าระดับประเทศ ได้รับเกียรติบัตรในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อการศึกษาทำให้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษดีขึ้น จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 นักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) เข้าร่วมโครงการเครือข่าย
เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้ (English For All) และนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ จากการแข่งขันทักษะความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
ของเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านใหม่
4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนโรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โรงเรียนบ้านใหม่ (จีนาภักดิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 พบว่า อยู่ในระดับมาก