ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์
เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน นายอนุวัฒน์ คลังข้อง
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการดำเนินโครงการ 2) การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ 3) คุณธรรมที่ดีงาม ความมีวินัย ความรับผิดชอบ การประหยัดและออม และความสามัคคี ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาแก้ว 4) คุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานด้านผู้เรียน ผู้เรียนมีคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ปีการศึกษา 2564 มาตรฐานที่ 2 และ 5) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีมในการประเมินโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นประชากรที่มีตัวตนในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 48 คน ครู จำนวน 9 คน ผู้ปกครอง จำนวน 48 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานด้านผู้เรียน (มาตรฐานที่ 2) จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ มีการตรวจสอบ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การแจกแจงความถี่และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67 ,  = 0.22) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 ,  = 0.15) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71 ,  = 0.13) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ในการดำเนินโครงการ มีรายละเอียดดังนี้
4.1 ผลการประเมินคุณภาพในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72 ,  = 0.11) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 ผลการประเมินการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71 ,  = 0.12) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.3 ผลการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.56 ,  = 0.06) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.4 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 ผลการประเมินภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 94.03 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72 ,  = 0.14) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินและมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด