รายงานการประเมินโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมในด้าน 4.1) การมีส่วนร่วมใน การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4.2) การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษาให้สามารถดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือได้ 4.3) นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ 4.4) ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการประชาการที่ใช้ในการประเมินได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยาปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 2,114 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน (ไม่นับรวมผู้ประเมิน) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 53 คน (ประกอบด้วยครูประจำการ พนักงานราชการและครูอัตราจ้าง) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่นับรวมผู้บริหารและตัวแทนครู) นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 1,023 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 1,023 คน (นักเรียน 1 คนต่อผู้ปกครอง 1 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีจำนวน 8 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลกการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ในภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (µ = 4.48, = 0.18)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ในภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (µ = 4.49, = 0.20)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ในภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (µ = 4.51, = 0.20)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (µ = 4.54, = 0.22)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ด้านการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือได้ในภาพรวมมีระดับความสอดคล้องยู่ในระดับมาก (µ = 4.51, = 0.23)
6. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ด้านนักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (µ = 4.53, = 0.28)
7. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาและส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วม โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ด้านความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (µ = 4.60, = 0.41)