CLUB MODEL ขับเคลื่อนความรู้สู่คุณธรรม นำปัญญา เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อ
พัฒนานักเรียนให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยได้ พัฒนามาจากหลักการเรียน
แบบมีส่วนร่วมนักเรียนมีความสุขสนุกกับการเรียน มีกระบวนการผลิตนวัตกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
CLUB MODEL คือ เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอนที่ข้าพเจ้านำมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนวิชาเรียนให้มีความรู้สู่ความมีคุณธรรม นำปัญญา นักเรียนโรงเรียนบ้านบึงพิชัย (ทับทองอุทิศจิตโต) มีดังนี้
๑.C : Contemplate (การคิดทบทวน ) หมายถึง การคิดทบทวนการอ่าน เขียน โดยใช้ความเป็นอัตลักษณ์คุณธรรม ความพอเพียง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียน บ้าน ผู้ปกครอง วัด และชุมชน ที่พึงมีเพื่อนำมาเป็นสื่อในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
๒. L : Learn (แสวงหาเรื่องใหม่ ๆ) หมายถึง การเรียนการสอนวิชาภาษาไทย จะต้องมีความสนใจ
ค้นคว้าหาเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวและสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เน้นความพอเพียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๓. U : Understand (เกิดความเข้าใจ) หมายถึง เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของการเรียน มีอุดมการณ์
คุณธรรมเพื่อให้ผลงานที่ออกมาจะดีและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงาน นั้น ๆ
๔. B : Big (มีผลสำเร็จ) หมายถึง การดำเนินงานในกิจกรรมการเรียนจะต้องมีอาศัยความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู มุ่งมั่น ตั้งใจ ครูคอยกระตุ้นเสริมแรงเพื่อให้นักเรียนและเพื่อนสมาชิกในชั้นเรียน
เป็น Knowledge Workers พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
จากตัวแปรดังกล่าว ผู้จัดทำจึงได้ดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนและให้ความร่วมมือจากนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของการจัด จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการวิถีพุทธ การเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิ เพื่อพัฒนาผู้เรียนจนเกิด ทักษะในการใช้ชีวิต สามารถกินอยู่ ดู ฟัง อย่างมีวัฒนธรรม มีปัญญาตามแนวไตรสิกขา ที่มุ่งเติมเต็มคุณค่า และความหมายให้แก่การเสพและใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัล โดยมุ่งให้เป็น สติดิจิทัล เพื่อการใช้หรือการ อยู่กับดิจิทัล มีสติรู้เท่าทันมากยิ่งขึ้น และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสภาพของโรงเรียนมีการ จัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ อยู่ร่วมกัน
อย่างมีความสุข มีสติรอบคอบ นักเรียนสามารถนาข้อคิด ข้อเตือนใจในการปฏิบัติตนตามแนววิถีพุทธวิถีไทยไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกคน ทุกฝ่ายมีความพึงพอใจ นักเรียนสามารถนำโครงงานที่เกิดจากความตระหนักจากคุณธรรมอัตลักษณ์ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เชิงบวกจนเป็นผลที่ประจักษ์เป็นอย่างดี
การดำเนินงานขับเคลื่อนนวัตกรรม CLUB MODEL ขับเคลื่อนความรู้สู่คุณธรรม นำปัญญา ในรูปแบบ PDCA ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้
ขั้นที่ 1 P : plan (การวางแผน)
1. ประชุมวางแผนเพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้ที่จะพัฒนาให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เพื่อ
นักเรียนมีความรู้สู่คุณธรรม นำปัญญา อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนจะต้องมีอัตลักษณ์คุณธรรม อุดมการณ์คุณธรรม
การจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.มาตรฐานการเรียนรู้
2.วัตถุประสงค์การเรียนรู้
3.สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.สาระ/เนื้อหา
5.กิจกรรมการเรียนรู้
6.สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้
7. รูปแบบการสอน
8.ประเมินการเรียนรู้
9.บันทึกหลังสอน
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง
1.ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองได้
2.ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนรู้
โดย ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1.การจัดกิจกรรมที่ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมมากที่สุด
2.พัฒนากระบวนการคิด และสร้างความรู้ด้วยตนเองได้
3.ทำให้สิ่งที่ยากและซับซ้อนมีลำดับขั้นตอน เพื่อง่ายต่อการนำไปปฏิบัติได้
4.ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์นำทางทุกข้อ เพื่อไปสู่วัตถุประสงค์ปลายทางได้
5.สอนให้เกิดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเอง โดยลดการบอก และให้ท่องจำน้อยลง
6.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมและลงมือปฏิบัติ
7.ให้ผู้เรียนแสวงหา ค้นหา ค้นพบเอง สรุปข้อความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
8.กระตุ้นเสริมแรงให้เกิดกำลังใจ เพื่อผู้เรียนคิดหลากหลายและคิดสร้างสรรค์
9.ฝึกการวิเคราะห์ ความคิด และการปฏิบัติของผู้เรียน
10.ฝึกการนำเสนอข้อมูล
11.ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้จากกันและกัน
12.ฝึกการสื่อความหมายตามสภาพจริงมากขึ้น
13.ให้ผู้เรียนได้ใช้ทั้งปัญญา อารมณ์และร่างกายในการเคลื่อนไหว เพื่อการเรียนรู้ตามธรรมชาติ
ขั้นตอนการเขียนแผน
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์หลักสูตร
เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำอธิบายรายวิชา มาตรฐานการเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.1 วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กำหนดเนื้อหาหลัก และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้
1.2 จัดทำโครงสร้างรายวิชา เป็นการนำเนื้อหาหลัก ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจำนวนเวลามาย่อยลง เพื่อให้เหมาะสมกับเรื่องที่สอน
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดสาระสำคัญ
สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหา หลักการ วิธีการที่ต้องการ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การเขียนสาระสำคัญจะเขียนในลักษณะข้อความที่สรุปเนื้อหา เป้าหมายอย่างสั้น ๆ จะเขียนเป็นความเรียงหรือเขียนเป็นข้อก็ได้
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนมีหรือบรรลุ การเขียนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังนั้นจะต้องเขียนให้ครอบคลุมพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ (Knowledge) เจตคติ (Attitude) กระบวนการ (Process) และเขียนในเชิงพฤติกรรม
ขั้นตอนที่ 4 กำหนดสาระการเรียนรู้
คือ รายละเอียดของเรื่องที่ใช้จัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ วิธีการและแนวปฏิบัติ โดยอาจจะเขียนเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้หรือเขียนเฉพาะหัวข้อเนื้อหานั้น ๆ ก็ได้
ขั้นตอนที่ 5 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
เป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนซึ่งต้องจัดให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร ในขั้นตอนนี้เรานำเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการต่าง ๆ มาใช้
ภาพความสำเร็จ
ขั้นที่ 2 D : Do (การปฏิบัติตามแผน)
การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยมิได้มุ่งเพียงการอ่านออกเขียนได้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของทักษะความเข้าใจภาษา คือการฟังและการอ่าน ทักษะการใช้ภาษาคือการพูดและการเขียน จนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความเข้าใจ การหาเหตุผล แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ จึงควร จัดการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ซึ่งครูต้องมีศาสตร์และศิลป์ในการจัดการเรียนการสอน วิธีสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Pupil centered Method) เป็นวิธีสอนที่นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรม ดําเนินการค้นคว้า หาความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน ให้ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้กําลังใจ และช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา วิธีสอนแบบนี้ช่วยให้ นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเป็นการเรียนจากการกระทํา (Learning by doing) และเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ ทุกด้านของผู้เรียน ตัวอย่างเช่น วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทํากิจกรรม การแสดงบทบาทสมมติ จัดทำโครงงาน การปฏิบัติจริง นักเรียนจะต้องมีความรับผิดชอบ ความพอเพียง ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญู
ขั้นที่ 3 C : Check (การตรวจสอบ)
มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยใช้ A : Assessment (วัดผลประเมินผลด้วยหลักการ) การตรวจสอบผล
การปฏิบัติงานตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้รับมอบหมาย ประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด บรรลุตาม
วัตถุประสงค์หรือไม่ นักเรียนต้องมีคุณธรรมนำ ความรู้อันเกิดจากการฟัง พูด อ่าน เขียนจึงจะทำให้มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนั้นดีขึ้น อันเป็นผลที่ตามมา ซึ่งเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่สังคมต้องการ คือ เป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุข จากการ ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนบ้านบึงพิชัย (ทับทองอุทิศจิตโต) ได้รับ การยอมรับจากทุก ๆ ฝ่ายทั้งสถานศึกษา อันส่งผลให้ผู้ปกครองไว้วางใจส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนที่โรงเรียนบ้านบึงพิชัย (ทับทองอุทิศจิตโต)
ขั้นที่ 4 A : Action (การปรับปรุงการดำเนินงาน)
วิเคราะห์ผลสำเร็จของการดำเนินงาน การประชาสัมพันธ์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนถึงบุคคลโรงเรียนบ้านบึงพิชัย (ทับทองอุทิศจิตโต) ได้มีโอกาสนำเสนอเผยแพร่ นอกจากนี้ครูผู้สอนยังได้รับรางวัลจากการพัฒนาตนเองอยู่เสมอที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ เรียนการสอนของโรงเรียน
ผลการดำเนินการจัดการเรียนรู้ CLUB MODEL ขับเคลื่อนความรู้สู่คุณธรรม นำปัญญา ในรูปแบบวิธีการปฏิบัติ โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ PDCA คือ การมีจิตจดจ่ออยู่กับปัจจัยแต่ละด้าน ดังนี้
1. ด้านการเปิดโอกาสที่จะเรียนรู้ของนักเรียน โดยที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นักเรียนร่วมเสนอแนะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มดีขึ้น
2. ด้านความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน นักเรียนพยายามเรียนรู้ อ่าน เขียน
3. เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียน นักเรียนมีทักษะการทำงานเป็นลำดับขั้นและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
4. ผู้ปกครองเห็นการเปลี่ยนแปลงและพึงพอใจในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
เติมเต็มด้วยความรัก การทำงานกับเพื่อนร่วมงานทั้งในและนอกโรงเรียนที่เป็น
เครือข่ายของเราอย่างเป็นกัลยาณมิตร มีการเอาใจใส่ให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลา เป็นการเสริมสร้างบรรยากาศ
ที่ดีในการทำงาน กระตุ้นให้ทุกคนทำงาน ด้วยใจรัก รักในหน้าที่การงานของตน รักทุกคน
ที่เป็นเพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญทุกคนเคือทรัพยากรบุคคลที่มีค่ายิ่งเหนือสิ่งอื่นใด เป็นกำลังสำคัญของชาติพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพต่อไป ในวันข้างหน้า
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ นวัตกรรม CLUB MODEL ขับเคลื่อนความรู้สู่คุณธรรม นำปัญญา ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
2. นักเรียนมีคุณธรรมตามคุณธรรมเป้าหมายของโรงเรียน บ้านบึงพิชัย คิดเป็น
ร้อยละ ๙๗.๘๑ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย