การประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด จำนวน 451 คน จำแนกเป็น ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 141 คน คิดเป็นร้อยละ 31.26 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 68.74 ของผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อม และด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 2 การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน ฉบับที่ 3 การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ฉบับที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ โดยแบ่งเป็นความพึงพอใจของนักเรียน และความพึงพอใจของครูและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระที่มีต่อโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context)
การประเมินโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในด้านสภาพแวดล้อม (Context) ภาพรวมพบอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การประสานงานและการมีส่วนร่วมสามารถทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ รองลงมาเป็นครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นความสำคัญในการจัดโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่าบรรยากาศในโรงเรียนและสภาพของชุมชนเอื้อต่อการดำเนินโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ โดยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
ผลการประเมินโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ ข้อที่ 4 และข้อที่ 8 มีรายละเอียด ดังนี้ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์มีเพียงพอในการดำเนินโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ และหน่วยงาน และองค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐ และเอกชนให้ความร่วมมือ และสนับสนุนโครงการ ระดับคะแนนรองลงมาเป็นมากที่สุด อยู่ในข้อที่ 6 ข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจุบัน และพร้อมที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการโครงการ ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ข้อที่ 7 หน่วยงานต้นสังกัดพร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับที่มาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process)
ด้านการวางแผน ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนของสถานศึกษาในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นคะแนนการวางแผนการประเมินและสรุปผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงพัฒนา ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่า การจัดทำแผนการประเมินผลให้สอดคล้องกับการวางแผนจัดกิจกรรมในโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
ด้านการดำเนินงาน ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การจัดประชุมชี้แจง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีความเข้าใจในการดำเนินโครงการ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด อยู่ในระดับที่มากที่สุด รองลงมาเป็นการประสานงานและสร้างความร่วมมือ เพื่อให้เกิดความสำเร็จจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อยู่ที่ระดับมาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่า ดำเนินการตามแผนงานและปฏิทินที่กำหนด อยู่ในระดับที่มาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
ด้านการประเมินผล ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่าผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการประเมินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นประเมินผลการดำเนินงานก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ และสิ้นสุดโครงการ อยู่ในระดับที่มากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่าการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการตามกิจกรรมที่กำหนด อยู่ในระดับที่มากที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
ด้านการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่า การสรุปและรายผลการประเมินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงพัฒนาโครงการ และสร้างเครือข่ายอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด เป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลโครงการอยู่ในระดับที่มาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวมพบว่า การประเมินการดำเนินการตามด้านกระบวนการ (Process) อยู่ใน ระดับมากที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
การประเมินด้านผลผลิต ได้แก่
ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
ด้านการกำหนดนโยบาย ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่าการนำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นมีการกำหนดนโยบายโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา และบูรณาการกิจกรรมในแผนปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียนเวียงสระ และการติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีที่นำกิจกรรมการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระมาขับเคลื่อนในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่า เป็นการดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปีของโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
ด้านการบริหารวิชาการ ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุดพบว่า มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระอยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็นการดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการกิจกรรมส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด คือ การดำเนินการติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการกิจกรรมส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระ อยู่ในระดับที่มาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
การบริหารงบประมาณ ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่า การติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระ อยู่ในระดับที่มาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่ามีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อยู่ในระดับที่มาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
การบริหารทั่วไป ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่าการบริหารจัดการอาคารสถานที่และแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาตามกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระของผู้เรียนอยู่ในระดับมากซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมินโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานีในการประเมินด้านผลผลิต ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดนโยบาย ด้านการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ และการบริหารทั่วไป ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
ผลการดำเนินงานด้านด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดหน่วยการเรียนรู้กิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพ ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่ามีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วย การเรียนรู้กิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นมีหน่วยการเรียนรู้กิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร ตามมาตรฐานการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่ามีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หน่วยการ เรียนรู้กิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่า คุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการจัดแผนการเรียนรู้ที่บูรณาการกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามมาตรฐานการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่านักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
สื่อและแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับกิจกรรม ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่าการใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่เสริมสร้างการพัฒนากิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นการจัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกิจกรรมการเรียนรู้ ภาพรวมพบว่าอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่าการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียน ที่เกิดจาก การนำกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรไปประยุกต์ใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นรายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนา การจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่าการใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกิจกรรมโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
สรุปผลการดำเนินงานด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
ความพึงพอใจนักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู นักเรียน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวมพบว่า ความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีคะแนนสูงที่สุด พบว่ากิจกรรมตามโครงการโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเวียงสระที่โรงเรียนดำเนินการมีความเหมาะสม และน่าสนใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นสื่อและแหล่งเรียนรู้สำหรับใช้ในการพัฒนาตามโครงการโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระน่าสนใจและมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีคะแนนต่ำสุด พบว่าครูใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีคุณลักษณะอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป ทั้งนี้สามารถสรุปความพึงพอใจในภาพรวมของครู นักเรียน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริม เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไปข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้ 1.1 การดำเนินการประเมินในรอบถัดไปควรมีเก็บข้อมูลเชิงลึกกับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ของโรงเรียน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายเชิงพื้นที่ 1.2 ควรเกิดการส่งต่อผลประเมิน และกระบวนการประเมินเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงของการจัดโครงการ 1.3 ในการจัดการประเมินครั้งต่อไปควรขยายกลุ่มเป้าหมายของผู้ให้ข้อมูลมากขึ้น นอกเหนือจากนักเรียนชุดเดิมควรเป็นนักเรียนกลุ่มใหม่ที่มีผลต่อโครงการทั้งในระดับทางตรงและทางอ้อม และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการประเมินในรูปแบบ 360 องศา และรอบด้านที่สุด