การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการนิเทศภายในจากการใช้ทีมเป็นฐาน (BAN-RAKA TEAMWORK Model) โรงเรียนบ้านระกา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 74) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการนิเทศภายใน จากการใช้ทีมเป็นฐาน ของโรงเรียนบ้านระกา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 74) และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการนิเทศภายในจากการใช้ทีมเป็นฐาน ของโรงเรียนบ้านระกา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 74) เป้าหมายของการดำเนินงาน คือครูโรงเรียนบ้านระกา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 74) มีกระบวนการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการนิเทศภายในจากการใช้ทีมเป็นฐาน
ขั้นที่ 1 การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
B : Brainstorming หมายถึง ระดมความคิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเน้นการมีส่วนร่วม
A : Achievement goals หมายถึง การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จ
N : New Plan หมายถึง วางแผนดำเนินงานจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่สอดคล้องตามบริบท
R : Relationship หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างทีมนิเทศกับผู้รับการนิเทศ
A : Active learning หมายถึง การจัดกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ
K : Knowledge หมายถึง ความรู้ที่ครูได้นำไปจัดการเรียนรู้เชิงรุก
A : Activity หมายถึง กิจกรรมสร้างสรรค์
ดำเนินการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐาน ประกอบด้วยการวางแผนการนิเทศภายใน (P : Plan) ปฏิบัติการนิเทศภายใน (D : Do) การติดตามตรวจสอบประเมินผลการนิเทศภายใน (C : Check) และการปรับปรุงแก้ไขการนิเทศภายใน (A : Act) มีรายละเอียดดังนี้
T : Team initiating, Team Building การริเริ่มเป็นการเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการนิเทศภายใน รวมถึงวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ช่วยให้เพื่อนร่วมทีมเกิดความคิดหรือมีวิธีการใหม่ๆ ในการพิจารณาปัญหาเพื่อการนิเทศภายใน
E : Encouragement and Empowerment การสนับสนุนให้กำลังใจเป็นการให้คำยกย่องชมเชยหรือยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกในทีมงานและเป็นการแสดงออกถึงความเป็นปึกแผ่นสร้างความอบอุ่นและผูกพันภายในทีมงานรวมถึงการยอมรับสมาชิกทุกคนในกลุ่ม และการส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจสร้างพลังทีมงานในการนิเทศภายใน
A : Aim การมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันทีมงานเห็นชอบในเป้าหมายในการดำเนินการนิเทศภายในร่วมกันสมาชิกในทีมจะต้องพยายามรวมกลุ่มเข้าด้วยกัน เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างดีที่สุด สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้สมาชิกในทีมให้บรรลุเป้าหมายรวมอย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลาและต้องให้สมาชิกทุกคนเห็นด้วยกับสิ่งที่ตนกระทำอยู่ว่ากำลังทำอะไร ทำเมื่อใด ทำอย่างไร เพราะจะช่วยให้เกิดการประสานงานและทำงานด้วยกันอย่างสามัคคีกลมเกลียว
M : Managing Team บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของทีมงาน
W : Working หมายถึง ทีมงานดำเนินการปฏิบัตินิเทศโดยใช้กระบวนการ Coaching and Mentoring
O : Observing หมายถึงการปฏิบัติการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติการนิเทศของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
R : Reflective หมายถึงการสะท้อนผลการดำเนินการนิเทศภายใน เป็นการสนทนาเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางาน
K : Knowledge Conclusion หมายถึงการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐาน
จากการดำเนินการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้รูปแบบการนิเทศภายใน โดยใช้ทีมเป็นฐาน ของโรงเรียนบ้านระกา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 74) พบว่าครูโรงเรียนบ้านระกา (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 74) มีการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ที่ได้จากการนิเทศภายใน โดยใช้ทีมเป็นฐาน ครอบคลุมองค์ประกอบ 4 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) การออกแบบการเรียนรู้ 2) การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ 3) การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และ 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง