การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการประเมินคือ 1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการพัฒนาแหล่ง
เรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรี2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า
ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรี
3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุ
เคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรี4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรี
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
และครู ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครู จำนวน 74 คน นักเรียนและผู้ปกครอง
ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ตารางการสุ่มตัวอย่างของ Krejcie
และ Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หรือยอมให้มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ประกอบด้วย
นักเรียน จำนวน 234 คน และผู้ปกครอง จำนวน 234 คน
ผลการศึกษาพบว่า
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรีในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
ผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมสูงสุด คือ เรื่องชุมชน ท้องถิ่น และ
ผู้ปกครองนักเรียนเห็นความสำคัญและยอมรับว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ตรงกับความต้องการของ
นักเรียน รองลงมา คือ เรื่องวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้มีการพัฒนา
แหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน วัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้มีความชัดเจน
สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมต่ำสุด ได้แก่ เรื่อง โครงการสนองต่อความ
ต้องการของนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน
2. การประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรีในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมสูงสุด คือ เรื่องโรงเรียน
มีเครือข่ายในการวางแผน สนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน รองลงมา
คือ เรื่องโรงเรียนบริหารจัดการงบประมาณโดยการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง มีความโปร่งใส และ
ตรวจสอบได้และโรงเรียนมีการวางแผน นิเทศ กำกับ ติดตาม ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อ
ส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมต่ำสุด ได้แก่ เรื่องผู้บริหาร ครู
ผู้ปกครองและนักเรียนมีส่วนร่วมตัดสินใจ วางแผนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของ
นักเรียน
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียน
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรีในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ
พิจารณาผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมสูงสุด คือ เรื่องโรงเรียนมีการ
สรุปรายงานผลกิจกรรมแต่ละกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ เรื่องโรงเรียนมีการสร้างความเข้าใจ
ร่วมกันในการจัดกิจกรรมแก่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องและนักเรียน และโรงเรียนมีการกำกับ ติดตาม กิจกรรมโดยใช้
กระบวนการนิเทศภายในค่าเฉลี่ย ส่วนเรื่องที่มีความเหมาะสมต่ำสุด ได้แก่ เรื่องโรงเรียนมีการพัฒนา
บุคลากรผู้เกี่ยวข้อง นักเรียน รวมถึงสื่อและวัสดุอุปกรณ์
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรีในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณา
ผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีเฉลี่ยค่าเความเหมาะสมสูงสุด คือ เรื่องนักเรียนมีความซื่อสัตย์
สุจริต รองลงมา คือ เรื่องนักเรียนมีความรับผิดชอบทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ย
ความเหมาะสมต่ำสุด ได้แก่ เรื่องนักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้
5. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรีความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสม
สูงสุด คือ เรื่องการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนส่งผลให้นักเรียนสามารถ
ตัดสินใจแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้รองลงมาอยู่ในระดับ มากที่สุด ได้แก่ เรื่องการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อ
ส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนส่งผลให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยความ
เหมาะสมต่ำสุด ได้แก่ เรื่องการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนส่งผลให้เกิดความ
ร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับสถานประกอบการ
6. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 33 จังหวัดลพบุรีความคิดเห็นของนักเรียนในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละเรื่อง พบว่า เรื่องที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ เรื่อง
นักเรียนมีพฤติกรรมทางสังคมดีขึ้นทั้งในด้านการทำงาน การอยู่ร่วมกัน ความรับผิดชอบและการอุทิศตน
เพื่อสังคม รองลงมา คือ เรื่องนักเรียนมีความเข้าใจในเป้าหมายของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริม
ทักษะชีวิตของนักเรียน ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมต่ำสุด ได้แก่ เรื่องนักเรียนใฝ่เรียนรู้ และ
พัฒนาอาชีพให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ