ผู้รายงาน ธราเดช มหปุญญานนท์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนําเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย 1) คุณภาพในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง 2) ระดับคุณภาพเด็กปฐมวัยหลังการพัฒนาโดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง 3) การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน
บ้านกลาง และ 4) ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ นักเรียน จำนวน 45 คน ครู จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 45 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.90-0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.85, 4.81, SD = 0.36, 0.39) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.83, SD = 0.38) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.76, 4.87, SD = 0.43, 0.33) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 โดยประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ = 4.81, SD = 0.38) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู (x ̅ = 4.80, SD = 0.42) และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x ̅ = 4.76, SD = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพเด็กปฐมวัยหลังการพัฒนา โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพเด็กปฐมวัยในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 2.86, SD = 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านอารมณ์-จิตใจ (x ̅ = 2.93, SD = 0.79) รองลงมา คือ ด้านสังคม (x ̅ = 2.86, SD = 0.69) และด้านสติปัญญา (x ̅ = 2.86, SD = 0.69) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านร่างกาย (x ̅ = 2.80, SD = 0.59) แต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 25 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมพบว่าทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่า กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ = 4.86, SD = 0.36) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู (x ̅ = 4.80, SD = 0.40) และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅ = 4.80, SD = 0.47) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ = 4.90, SD = 0.31) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (x ̅ = 4.89,
SD = 0.36) และกลุ่มครู (x ̅ = 4.88, SD = 0.33) ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน