บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ประเมินโครงการสร้างเส้นทางสู่งานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 จังหวัดเชียงใหม่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการสร้างเส้นทางสู่งานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 จังหวัดเชียงใหม่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินจำนวน 348 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 78 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มที่ 2 นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 270 คน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างมาจากตารางของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเพื่อการวิจัยการประเมินโครงการสร้างเส้นทางสู่งานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชา นุเคราะห์ 30 จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และครู 2) แบบสอบถามเพื่อการวิจัยการประเมินโครงการสร้างเส้นทางสู่งานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับนักเรียน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลตามเกณฑ์การประเมินต่อไป
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการสร้างเส้นทางสู่งานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 จังหวัดเชียงใหม่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.76, S.D.=0.45) เมื่อแยกพิจารณารายด้านปรากฎว่า ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( =4.80, S.D.=0.46) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ( =4.76, S.D.=0.47) และด้านสภาวะแวดล้อม ( =4.75, S.D.=0.42) ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น ( =4.73, S.D.=0.45)
2. ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานโครงการสร้างเส้นทางสู่
งานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 จังหวัดเชียงใหม่
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ( =2.27, S.D.=0.76) เมื่อแยกพิจารณารายกลุ่มตัวอย่างปรากฎว่า ระดับปัญหาของกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และครู มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( =2.45, S.D.=0.77) และกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ระดับปัญหาของกลุ่มนักเรียน ( =2.09, S.D.=0.75)