ผู้รายงาน นางสาววิลาวรรณ ปอหรา
ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของโรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินปัจจัยของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 เกี่ยวกับ 4.1) คุณภาพของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 4.2) ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน ประกอบด้วย 1) ครู โรงเรียนอนุบาลท่าแพ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) (ยกเว้น ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการและครูพี่เลี้ยงเด็กปฐมวัย ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้) 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนอนุบาลท่าแพ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลท่าแพ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 168 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นดังกล่าวมีความสามารถในการอ่านและการเขียน สามารถสื่อความจากข้อคำถามของแบบประเมินได้ 4) ผู้ปกครอง ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลท่าแพ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 196 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan)
เครื่องมือที่ใช้มี 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 4 แบบประเมินคุณภาพการดำเนินงานโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมในโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของโรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 4.36, S.D.= 0.60)
2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของโรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัยของโครงการโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X-bar = 4.31, S.D.= 0.24)
3. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของโรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 ด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X-bar=4.35, S.D. = 0.31)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของโรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar =4.37, S.D. = 0.34)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ของโรงเรียนอนุบาลท่าแพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar =4.40, S.D.= 0.29)
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. ควรจัดให้มีการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนและนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. ควรจัดให้มีการติดตามผลโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาข้อมูล หรือผลสัมฤทธิ์ในด้านอื่นๆ ของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เช่น ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
2. ควรศึกษาผลกระทบของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ในด้านประโยชน์ที่มีต่อการเรียน หรือผลกระทบที่มีต่อการใช้เวลาในการดำเนินงานโครงการ