บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ปีการศึกษา 2564 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ใช้รูปแบบจำลองซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม (อ้างถึงใน สุขุม มูลเมือง 2530 16) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มตัวอย่าง 84 คน ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) มีทั้งหมด 4 ชุด โดยสร้างเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (Mean x̄) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context) พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄เท่ากับ 4.45 S.D.เท่ากับ0.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของโครงการและให้การสนับสนุน มีผลการประเมินระดับมากที่สุด (x̄ เท่ากับ 4.54 S.D.เท่ากับ 0.59) รองลงมา คือ ลักษณะโครงการมีความสอดคล้องและตอบสนองความต้องการต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (x̄ เท่ากับ 4.54 S.D. เท่ากับ 0.61) และการกำหนดขั้นตอนของการดำเนินตามโครงการไว้อย่างชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ (x̄ เท่ากับ 4.49 S.D. เท่ากับ 0.72)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ เท่ากับ 4.50 S.D. เท่ากับ 0.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า วัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการมีอย่างเพียงพอ มีผลการประเมินระดับมากที่สุด (x̄ เท่ากับ 4.62 S.D. เท่ากับ 0.57) รองลงมา คือ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถและมีจำนวนเหมาะสมและเพียงพอ (x̄ เท่ากับ 4.60 S.D. เท่ากับ 0.60) และผู้รับผิดชอบโครงการมีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ (x̄ เท่ากับ 4.56 S.D. เท่ากับ 0.62)
3. ด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (x̄ เท่ากับ 4.46 S.D. เท่ากับ 0.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานหรือบุคลากรที่มีส่วนร่วมทุกฝ่ายเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และการปฏิบัติงานที่ชัดเจนให้เข้าใจ มีผลการประเมินระดับมากที่สุด (x̄ เท่ากับ 4.64 S.D. เท่ากับ 0.61) รองลงมา คือ มีการประเมินผลก่อนดำเนินกิจกรรม ระหว่างดำเนินกิจกรรมและหลังดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น(x̄ เท่ากับ 4.60 S.D.เท่ากับ 0.64) และมีการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน (x̄ เท่ากับ 4.58 S.D. เท่ากับ 0.60)
4. ด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ เท่ากับ 4.45 S.D.เท่ากับ 0.16) เมื่อพิจารณาด้านผลผลิต (Product) ในแต่ละด้านย่อยพบว่า
ด้านผลกระทบ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ เท่ากับ 4.48 S.D.เท่ากับ 0.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าครูได้รับความรู้จากการพัฒนาตนเอง เป็นครูศตวรรษที่ 21 มีผลการประเมินระดับมากที่สุด (x̄ เท่ากับ 4.60 S.D.เท่ากับ 0.67) รองลงมา คือ ครูได้รับความรู้ ความเข้าใจการพัฒนาตนเองชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC Professional Learning Community) (x̄ เท่ากับ 4.51 S.D. เท่ากับ0.64) และครูได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ (x̄ เท่ากับ 4.50 S.D.เท่ากับ 0.70)
ด้านประสิทธิผล มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ เท่ากับ 4.45 S.D.เท่ากับ 0.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าครูและบุคลากรมีสมรรถนะในการทำงานเพิ่มขึ้น มีผลการประเมินระดับมากที่สุด (x̄ เท่ากับ 4.61 S.D.เท่ากับ 0.69) รองลงมา คือ โรงเรียนมีบรรยากาศในการทำงานที่ดี (x̄ เท่ากับ 4.54 S.D.เท่ากับ 0.68) และโรงเรียนมีแนวทางในการปฏิบัติไปในทางเดียวกันจากการประชุมครูและบุคลากร (x̄ เท่ากับ4.48 S.D.เท่ากับ 0.64)
ด้านความยั่งยืน มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ เท่ากับ4.42 S.D.เท่ากับ 0.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าโครงการพัฒนาศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ มีความเหมาะสมกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน มีผลการประเมินระดับมากที่สุด (x̄เท่ากับ 4.58 S.D.เท่ากับ 0.68) รองลงมา คือ โรงเรียนมีแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพโครงการ (x̄ เท่ากับ 4.49 S.D.เท่ากับ 0.64) และครูจะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียน (x̄ เท่ากับ 4.32 S.D.เท่ากับ 0.66)
ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ เท่ากับ 4.45 S.D. เท่ากับ 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีการนำผลการดำเนินงานตามโครงการที่ผ่านมาใช้ปรับปรุงและวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานในครั้งต่อไป มีผลการประเมินระดับมากที่สุด (x̄ เท่ากับ 4.55 S.D.เท่ากับ 0.60) รองลงมา คือ การเป็นแหล่งเรียนรู้ในการถ่ายทอดคุณภาพโครงการพัฒนาศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ (x̄ เท่ากับ 4.51 S.D.เท่ากับ 0.63) และมีการขยายผลหรือต่อยอดแนวคิดจากการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ (x̄ เท่ากับ 4.38 S.D.เท่ากับ 0.67)
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) ควรวิเคราะห์ (swot) สภาพแวดล้อมเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ทำให้ทราบจุดเด่น จุดด้อย โอกาสหรืออุปสรรค ที่จะดำเนินโครงการไปในทิศทางใด การดำเนินโครงการควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความชัดเจน สอดคล้อง กับ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นรูปธรรมสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้เพื่อให้ขั้นตอนการดำเนินการไว้เพื่อให้ขั้นตอนการเตรียมการดำเนินการเป็นไปอย่างมีทิศทาง
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เตรียมความพร้อมในเรื่องงบประมาณหรือเงินสนับสนุนให้มีเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ และกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการให้มีความเหมาะสม ไม่น้อยหรือมากเกินไป
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ควรดำเนินโครงการจัดระบบการพัฒนากิจกรรมสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียน เช่น การประกวดการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การประกวดคลิปวีดีโอการสอนแต่ละวิชา ภายในสถานศึกษา ซึ่งส่งผลให้ครูต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ นอกจากนี้ควรสรุปผลการประเมินให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลกรมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน หลังจากนั้นนำผลการประเมินมาแก้ไขและปรับปรุงอย่างชัดเจนเพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ในการดำเนินโครงการควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการนิเทศการสอนนักเรียนและตระหนักถึงการรักษาสุขภาพให้มากขึ้น โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้รางวัล สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ให้บุคลากรภายนอก เช่น สมาคมศิษย์เก่า ภาคีเครือข่าย ผู้ปกครอง นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายโดยโรงเรียนประสานความร่วมมือของเครือข่ายโรงเรียนในการพัฒนาโรงเรียนและมีการปรับปรุงในการบริหารจัดการโครงการพัฒนาศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสะเดา ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์ ให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนมากที่สุด
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรนำรูปแบบหรือวิธีการประเมินอื่น ๆ นอกเหนือ จากการประเมิน โดยใช้ซิปป์ โมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน
2. ควรศึกษาการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ในเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
3. ควรศึกษาผลกระทบที่มีต่อการคำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน ตามบริบทของโรงเรียนที่แดกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการ
4. ควรประเมินผลกระทบของโครงการในระยะยาว เช่น ผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียนต่อไป