ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะทืด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ผู้รายงาน นายสมพร สรายทอง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านสะทืด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะทืด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะทืด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP MODEL ของสตัฟเฟลบีม โดยประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะทืด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ จำนวน 98 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 33 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 53 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นสำหรับประเมินโครงการ จำนวน 4 ฉบับ และสอบถามระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ สอบถามระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะทืด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสามารถเรียงลำดับระดับการดำเนินการจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้าตามลำดับ ซึ่งสามารถสรุปผลได้ดังนี้
1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการมีความเหมาะสมและมีความจำเป็นในการแก้ปัญหา ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด สภาวะแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ มีงบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.3 ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ โรงเรียนมีการเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชน โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.4 ด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ นักเรียนรู้หน้าที่ปฏิบัติเวรประจำวันทุกวันโดยไม่ต้องตักเตือน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะทืด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 พบว่า
2.1 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะทืด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และทุกข้อมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปทุกปีอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการวางแผนและการจัดกิจกรรม
2.2 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะทืด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และทุกข้อมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ฉันอยากทำความดีทุกวัน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือฉันชอบและพึงพอใจในกิจกรรมพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนและสอบธรรมศึกษาสนามหลวง
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์
1. การประเมินโครงการโดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด จึงควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้บริหาร ครู และครูผู้รับผิดชอบ ควรนำผลการประเมินครั้งนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการให้มีความหลากหลาย น่าสนใจยิ่งขึ้น
2. จากผลการประเมินที่พบว่า ประเด็นด้านปัจจัยนำเข้า ตัวชี้วัดมีงบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังนั้น ควรสร้างเครือข่ายให้ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนมากยิ่งขึ้น และระดมทรัพยากรในการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
3. สถานศึกษาควรกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อบูรณาการการพัฒนา และส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในทุกระดับชั้น