การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
ปีการศึกษา 2564 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต และเพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภท (stratified random sampling) ประกอบด้วยผู้บริหารและครู จำนวน 74 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน นักเรียน จำนวน 132 คน และผู้ปกครอง จำนวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี และประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focused Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความเหมาะสม 4 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ (Process) รองลงมาคือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านผลผลิต (Output) ตามลำดับ
1) ด้านบริบท (Context) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.26, S.D. = 0.62) ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการมีความเหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ของโรงเรียน (x̄ = 4.56, S.D. = 0.52)
2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.24, S.D. = 0.67) ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องกิจกรรม และบริเวณโรงเรียนที่มีเพียงพอกับการปฏิบัติกิจกรรมในการดำเนินงานโครงการ (x̄ = 4.45, S.D. = 0.68)
3) ด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.29, S.D. = 0.69) ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของการดำเนินงานโครงการให้ทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง (x̄ = 4.47, S.D. = 0.67)
4) ด้านผลผลิต (Output) มีดังนี้
4.1) ผลสำเร็จในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.26, S.D. = 0.70) ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีระบบ การประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับการประเมินภายนอกรอบ 4 (x̄ = 4.34, S.D. = 0.70)
4.2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.23, S.D. = 0.79) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริม สนับสนุน ครูให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด (x̄ = 4.42, S.D. = 0.74)
4.3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.12, S.D. = 0.91) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง (x̄ = 4.32, S.D. = 0.95)
4.4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13, S.D. = 0.84) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการอบรมนักเรียนให้มีความรู้และเป็นผู้ประพฤติดี ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแก้ปัญหาและช่วยตนเองได้มากขึ้น (x̄ = 4.28, S.D. = 0.78)
2. แนวทางการพัฒนาโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้ง 4 ด้าน สรุปได้ ดังนี้ 1) การสร้างการรับรู้ของครูและบุคลากรให้ตระหนัก เล็งเห็น ความสำคัญ และความจําเป็นในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก และควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ให้กับบุคลากรทุกคนในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับ การประเมินแบบรอบด้าน 2) ควรมีประชุมชี้แจงบุคลากรทุกคนให้เข้าใจและรู้ถึงบทบาทที่ตนเองต้องมีส่วนร่วมในการดําเนินงานการเป็นกัลยาณมิตรต่อกันภายในองค์กร มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ ให้ความร่วมมือในการดําเนินงานเป็นอย่างดี 3) มีการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ภายนอกให้ผู้เรียน 4) มีนําผลจากการรายงานมาใช้และปรับปรุงแผน/โครงการ/กิจกรรม/การสอน/หลักสูตร เพื่อพัฒนาสถานศึกษาต่อไป