ชื่อเรื่อง : การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้วิจัย : มานพ จิตแม้น
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2563-2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 3) ดำเนินการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้วิธีวิจัยผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัย เป็น 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยการสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สภาพพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สอบถาม สัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 23 คน แล้วมาสังเคราะห์วิเคราะห์เนื้อหา ตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม จากนั้นยกร่างและตรวจสอบรูปแบบจากการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบคุณภาพจากแบบประเมินคุณภาพ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ตอนที่ 3 ดำเนินการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ภายใต้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) กิจกรรมการสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้สอนต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกับผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 20 คน (2) กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเทียบสัดส่วนตามระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รวมทั้งสิ้น 103 คน ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จำนวน 44 คน แบบสอบถามความพึงพอใจ และรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มีองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ 3 ด้าน ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการงานวิชาการ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการศึกษา แนวทางการบริหารงานวิชาการ ควรมีส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ มีการนิเทศการเรียนการสอนที่เหมาะสม มีการส่งเสริมในการพัฒนาการจัดทำแผนวัดผลที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 มีการส่งเสริมให้ผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบผลสะท้อนกลับของการจัดการเรียนรู้ มีการจัดตั้งคำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานจัดการเรียนรู้ มีการสร้างความเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ต่อผู้สอน มีการออกแบบกระบวนจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคใหม่ ๆ มีการกำกับและติดตามการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง มีสนับสนุนแหล่งงบประมาณในการทำสื่อการสอน ผลการสัมภาษณ์สการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 และพบว่า สังเคราะห์การเกิดทักษะของผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษาได้ 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการคิดแก้ปัญหา
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ได้องค์ความรู้ใหม่ จากการเกิดกระบวนการพัฒนาผู้สอน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการจัดการงานวิชาการ (2) การเรียนรู้ปฏิบัติ (3) สร้างเครือข่ายการศึกษา (4) การบริหารจัดการองค์กร (5) การบริหารแบบมีส่วนร่วม และเกิดการพัฒนาผู้เรียน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) ขั้นกำหนดเป้าหมาย ให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาของเรื่องที่เรียน (2) ขั้นนำเสนอการเรียนรู้แบบองค์รวม ให้ผู้สอนเป็นผู้กำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาและทำความเข้าใจตามลำดับเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ ครบทุกด้าน (3) ขั้นสร้างความคิดจินตนาการ ให้แก่ผู้เรียน โดยใช้เทคนิค PMI มาใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ได้แก่ คิดบวก(P) คิดลบ (M) และ คิดในสิ่งที่น่าสนใจ (I) (4) ขั้นเลือกที่เหมาะสม ให้ผู้เรียนเลือกทางเลือกที่เหมาะสม ฝึกให้ผู้เรียนกล้าตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมถูกต้องกับสถานการณ์ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป และ (5) ขั้นความรู้ไปสู่การปฏิบัติ ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่เลือกไปสู่การปฏิบัติที่ดีและถูกต้อง สามารถปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้องค์ความรู้ใหม่ ผู้วิจัยสร้างสัญลักษณ์เชิงประจักษ์ ออกมาเป็นโมเดลรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ที่ผู้วิจัยได้ตั้งชื่อว่า Ma-Think Model
3. ผลการดำเนินการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้สอนต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน
4. ผลความพึงพอใจการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : รูปแบบ/ การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา/ ทักษะการคิด/ศตวรรษที่ 21