ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์
เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้รายงาน กฤติยา มานะเปรมชัย
ปีที่ศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ และ 4) เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนเทศบาล 7 (ศิรินาวินวิทยา) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครลำปาง จำนวน 32 คน ใช้เวลาในการทดลอง 14 ชั่วโมง โดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนการสอนและสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 2) ขั้นพากเพียรเพื่อเรียนรู้ 3) ขั้นมุ่งสู่การตัดสินใจ 4) ขั้นบอกไปให้ได้รู้ และ 5 ) ขั้นเผยแพร่ให้ได้ใช้จริง ประเมินผลรูปแบบโดยการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติด่วยค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการสำรวจสภาพปัจจุบันของความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ ทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ทักษะการจัดการตนเอง ทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ทักษะการตัดสินใจและเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง อยู่ในระดับไม่ดีพอ ยกเว้นทักษะการสื่อสารสุขภาพ อยู่ในระดับพอใช้
2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีประสิทธิผลของเท่ากับ 0.5227 หรือคิดเป็นร้อยละ 52.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นตํ่าที่กำหนด คือ ร้อยละ 50 หรือ ค่าดัชนีประสิทธิผลมากกว่า 0.50 ขึ้นไป ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้นั้นเป็นการจัดกิจกรรมโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนการสอนและสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 2) ขั้นพากเพียรเพื่อเรียนรู้ 3) ขั้นมุ่งสู่การตัดสินใจ 4) ขั้นบอกไปให้ได้รู้ และ 5 ) ขั้นเผยแพร่ให้ได้ใช้จริง ประเมินผลรูปแบบโดยการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ในภาพรวม พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับพฤติกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบร่างกายของมนุษย์ เพี่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, = 0.65)