บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย การพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ H-U-H-G-I-N
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน
โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายอุดม ยกพล
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนด่านอุดมศึกษา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา 3) เพื่อทดลองพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา 4) เพื่อประเมินการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 14 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนด่านอุดมศึกษา จำนวน 12 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนด่านอุดมศึกษา จำนวน 12 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 14 คน ประกอบด้วย 1) ครูพี่เลี้ยงที่ ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน จำนวน 2 คน 2) กลุ่มครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา พบว่า ครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนบทบาทและวิธีสอน สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียน ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แต่ครูโรงเรียนด่านอุดมศึกษา ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว จึงมีความต้องการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. การพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา มีชื่อว่า เอสทีเออีเอ (STAEA Model) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 SWOT : S การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของครูทั้งทางด้านความรู้ความสามารถทักษะ เจตคติ และความต้องการในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียนรวมทั้งมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ขั้นที่ 2 Training : T การฝึกอบรมให้ความรู้ทักษะและเจตคติสำหรับครูในการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียนที่สอดคล้องกับความต้องการ ขั้นที่ 3 Action : A การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน ตามกระบวนการ โดยมีการ Coaching & Mentoring เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน ตามขั้นตอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขั้นที่ 4 Evaluation : E การประเมินผลการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน ของครูโดยประเมินแผนการจัดการเรียนรู้และประเมินความพึงพอใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นที่ 5 After Action Review : A การทบทวนหลังปฏิบัติกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียนของครู มีผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80-1.00
3. ผลการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ครูพี่เลี้ยงและครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังทดลองจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการทดลองจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และครูผู้รับการอบรมมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา ของครูอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ก่อนและหลังการทดลองพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการทดลองพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา นักเรียนทุกระดับชั้นทุกห้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้ HUHGIN ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตผู้เรียน โรงเรียนด่านอุดมศึกษา