การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรูตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาลอนุสรณ์
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาลอนุสรณ์ เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน
4 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 70 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาลอนุสรณ์ จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น
21 คน โดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 8 แผน
2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก จำนวน 1 ฉบับ (Pretest Posttest) เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการการจัดกิจกรรมการเรียนรูู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประกอบชุดกิจกรรม จำนวน 15 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรูู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้(5E) ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาลอนุสรณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมี สามารถนำไปทดลองใช้ได้ และผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมเท่ากับ 87.44 / 87.08 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยข้อที่ 1
2. ผลการเรียนรู้ เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (x̄ = 35.38, S.D. = 0.74) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการเรียนรู้เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลกของนักเรียนก่อนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ความรู้ ( x̄=17.76,S.D.=0.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3. นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ( x̄=8.87, S.D. = 0.61) เมื่อพิจารณาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เป็นรายด้าน อยู่ในเกณฑ์ระดับดีทุกด้าน เรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้ นักเรียนมีความสามารถด้าน
การวิเคราะห์การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ( x̄ =8.95, S.D. = 0.59) รองลงมาคือการวิเคราะห์เชิงหลักการ ( x̄=8.90, S.D. = 0.62) ลำดับที่สามคือ ด้านการวิเคราะห์ความสำคัญหรือเนื้อหา ( x̄=8.76, S.D. = 0.62) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (x̄ = 4.64 S.D. = 0.47) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักเรียนมีความเห็นด้วยมากที่สุด 3 ด้านเรียงตามลำดับดังนี้ นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุด ด้านประโยชน์ที่ได้รับ (x̄ = 4.79 S.D. =0.41) รองลงมา ด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ (x̄ =4.75 S.D.= 0.44) รองลงมา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( x̄=4.59, S.D. =0.49) และนักเรียนมีความเห็นด้วยมาก 1 ข้อ คือ ด้านเนื้อหา (x̄ =4.43, S.D. = 0.50) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4