ชื่อ การประเมินโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทอผ้าไหมแพรวา
ของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
ผู้เสนอผลงาน นายวัฒนะ บุตรสุวรรณ์
โรงเรียน ชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทอผ้าไหมแพรวา ของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ครั้งนี้ ผู้ประเมินดำเนินการประเมินโดยใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ประเมินสภาวะแวดล้อม(Context evaluation)เกี่ยวกับความพร้อม ความเหมาะสมของสถานศึกษา ความต้องการ ความเป็นประโยชน์ ความสอดคล้องกับกฎหมาย นโยบายและสนองความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทอผ้าไหมแพรวา ของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และการบริหารงาน มีความพอเพียง เหมาะสมกับการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (การทอผ้าไหมแพรวา) ของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 3) เพื่อประเมินกระบวนการ ( Process evaluation) เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์โครงการสอดคล้อง กับเป้าหมาย มีการวางแผน การดำเนินงาน การกำกับติดตามและประเมินผลของโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทอผ้าไหมแพรวา ของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ ดังนี้
4.1) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (การทอผ้าไหมแพรวา) ของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 และ 4.2) ทักษะการทอผ้าแพรวาของนักเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน จำนวน 211 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 40) ได้แก่ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 92 คน ผู้ปกครองนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 92 คน คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ ประเภทที่ 2 แบบสอบถาม และประเภทที่ 3 แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1.การประเมินโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น: การทอผ้าไหมแพรวาของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (μ= 4.25,σ= 0.62) เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือด้านผลผลิต(μ= 4.50,σ= 0.61) ด้านกระบวนการ (μ= 4.48,σ= 0.67) และด้านปัจจัยนำเข้า (μ= 4.34 σ= 0.60)
2.การประเมินโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทอผ้าไหมแพรวาของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ด้านสภาวะแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.51,σ= 0.64) เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือข้อ (7)มีการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม (μ= 4.56,σ= 0.68) ข้อ(6) วัตถุประสงค์ของโครงการฯมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมสามารถนําไปปฏิบัติได้จริง ( μ= 4.53,σ= 0.55) และข้อ(8)มีการสำรวจความต้องการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาก่อนที่จะดำเนินการจัดทำโครงการ ( μ= 4.53,σ= 0.57)
3.การประเมินโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทอผ้าไหมแพรวาของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ด้านปัจจัยนำเข้าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.51,σ= 0.64) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือข้อ (15)ในชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ในการทอผ้าแพรวาอย่างเพียงพอ (μ= 4.55,σ= 0.68) ข้อ(16) โรงเรียนมีการจัดทำมีแผนงาน/โครงการที่ชัดเจน (μ= 4.54,σ= 0.57)และข้อ(20)มีการเตรียมความพร้อมให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทอผ้าแพรวา(μ= 4.54,σ= 0.81)
4. การประเมินโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทอผ้าไหมแพรวาของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3ด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.55,σ= 0.66) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือข้อข้อ(1)มีการประชุมชี้แจงให้ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ (μ= 4.65,σ= 0.65) ข้อ (3)มีการสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติในการทอผ้าไหมแพรวา (μ= 4.64,σ= 0.65) ข้อ(10)มีการกำกับติดตามการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน (μ= 4.57,σ= 0.65)
5. การประเมินโครงการ ด้านผลผลิตโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.51,σ= 0.60) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย3 อันดับแรกคือ กิจกรรมการเลือกเส้นไหมและฟอกสีไหมข้อ (6) นักเรียนสามารถสรุปเป็นองค์ความในการเตรียมเส้นไหมและการฟอกสีไหมได้ (μ= 4.57,σ= 0.62) กิจกรรมสืบหูกหรือต่อกับต้นแบบลวดลาย ข้อ(21) และกิจกรรมการทอผ้า(ต่ำหูก)ไหมแพรวา ข้อ(23)นักเรียนมีความสนใจกระตือรือร้นในการทอผ้า(ต่ำหูก)แพรวา (μ= 4.53,σ= 0.58)
6.นักเรียนโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีความพึงพอใจต่อมีต่อการจัดกิจกรรม ตามโครงการโครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : การทอผ้าไหมแพรวาของโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.52,σ= 0.66) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือข้อ (3) นักเรียนมีโอกาสเลือกกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดและความต้องการของนักเรียน (μ= 4.54, σ= 0.52) ข้อ(6)ครูรับผิดขอบโครงการมีความรู้ความสามารถ(μ= 4.53,σ= 0.76) และข้อ(9)นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข (μ= 4.53,σ= 0.76)
7.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพนพิทยาคมมีทักษะการทอผ้า(ต่ำหูก) ไหมแพรวา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.51,σ= 0.60) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย3 อันดับแรกคือ การกวักไหม การปั่นหลอด ข้อ(8) นักเรียนมีทักษะปั่นหลอดได้รวดเร็วและไม่ทำให้หลอดหลุดหรือเส้นไหมในหลอดพันกัน(μ=4.53,σ= 0.66) กิจกรรมสืบหูกหรือต่อกับต้นแบบลวดลาย ข้อ(14)นักเรียนมีทักษะในการสืบหูกโดยที่ไม่ให้เส้นไหมพันกันหรือสลับที่กันหรือไม่ให้เส้นไหมหลุดออกจากกันและกิจกรรมการทอผ้า(ต่ำหูก)ไหมแพรวา ข้อ(16)นักเรียนมีทักษะในการทอผ้า(ต่ำหูก)โดยมีการเก็บลายขิดได้สวยงามและประณีต (μ= 4.53,σ= 0.58)
The Evaluation of Transferring Local Wisdom Project: Prae-Wa Silk Weaving of Chumchonphonpittayakom School under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3
This research was studied by using CIPP Model and the objectives of this research were: 1) to evaluate the context of the readiness, appropriation, requirement, usefulness, agreement of law, the policy and students, parents, and community from all the participants in the process of transferring local wisdom project: Prae-Wa silk weaving. 2) To evaluate the input of human resources, budget, materials and management whether these are sufficient for transferring local wisdom project: Prae-Wa silk weaving. 3) To evaluate the agreement of process of the project with the goals of the project; planning, operating, and following up. 4) To evaluate the product of the project including with; 4.1) students satifactifaction toward the Transferring Local Wisdom Project: Prae-Wa Silk Weaving. 4.2) Students Prae-Wa silk weaving skills of Chumchonphonpittayakom School under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3. The population of this research were 211 people consist of 9 the committee of basic educational school, 18 teachers and educational personnel , 92 Prathomsuksa 3 to Mattayomsuksa 3 students, and 92 the parents these students .It is using Purposive Sampling. The tools used to collect data were 1) 5 copies of five rating scales, questionnaire and interviewing form. The data was analyzed by using percentage, mean and standard deviation.
The results of this research were as follows:
1) The overall and in each topic of The evaluation of Transferring Local Wisdom Project: Prae-Wa Silk Weaving of Chumchonphonpittayakom School under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3 were at high level (μ= 4.25, σ= 0.62) considered in each topic from high to low as follows. The product evaluation (μ= 4.50, σ= 0.61), the process evaluation (μ= 4.48, σ= 0.67), and the input evaluation (μ= 4.34 σ= 0.60).
2) The overall of the context evaluation of The evaluation of Transferring Local Wisdom Project: Prae-Wa Silk Weaving of Chumchonphonpittayakom School under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3 were at highest level (μ= 4.51,σ= 0.64) considered in each item from high to low as follows. Item (7): To encourage parents to participate in the activities (μ= 4.56, σ= 0.68). Item (8): To survey the educational management persons who intend to participate the project before operating the project (μ= 4.53, σ= 0.57).
3) The overall of the input evaluation of The evaluation of Transferring Local Wisdom Project: Prae-Wa Silk Weaving of Chumchonphonpittayakom School under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3 were at highest level (μ= 4.51, σ= 0.64) considered in each item from high to low as follows. Item (15): There were sufficient Prae-Wa silk weaving learning centers (μ= 4.55, σ= 0.68). Item (16): There are clear plans and projects (μ= 4.54, σ= 0.57). Item (20): There was getting readiness for teachers and educational participants about Prae-Wa silk weaving activities (μ= 4.54, σ= 0.81).
4) The overall of the process evaluation of The evaluation of Transferring Local Wisdom Project: Prae-Wa Silk Weaving of Chumchonphonpittayakom School under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3 were at highest level (μ= 4.55, σ= 0.66) considered in each item from high to low as follows. Item (1): There was the meeting to inform the processes and procedures of operating the project to the respondents and participants (μ= 4.65, σ= 0.65). Item (3): There was motivation and students support to practice Prae-Wa silk weaving (μ= 4.57, σ= 0.65). Item (10): There was following up all activities procedures (μ= 4.57, σ= 0.65).
5) The overall of the product evaluation of The evaluation of Transferring Local Wisdom Project: Prae-Wa Silk Weaving of Chumchonphonpittayakom School under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3 were at highest level (μ= 4.51, σ= 0.60): How to choosing silk thread and bleaching silk thread activity: Item (6): students were able to summarize knowledge of silk thread preparing and bleaching silk thread (μ= 4.57, σ= 0.62). Threading warp threads through comb-like part of loom by tying them to warp threads of previous piece of cloth woven. Item (21): Prae-Wa silk Weaving. Item (23): students were interested in Prae-Wa silk weaving enthusiastically (μ= 4.53, σ= 0.58).
6) The students of Chumchonphonpittayakom School under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area 3 satisfied toward the overall operating Transferring Local Wisdom Project: Prae-Wa Silk Weaving activities were at highest level (μ= 4.52,σ= 0.66) considered in each item from high to low as follows. Item (3): students were able to choose the activities according to their interest, ability, and requirement (μ= 4.54, σ= 0.52). Item (6): teachers who were responsible the project, are capabilities (μ= 4.53,σ= 0.76). And item (9): students were able to learn and practice happily (μ= 4.53,σ= 0.76).
7) The Matthayomsuksa 3 students of Chumchonphonpittayakom School were skillful of Prae-Wa silk weaving were at highest level (μ= 4.51, σ= 0.60) considered in each item from high to low as follows. Rolling the united silk thread and reeling and spinning the silk thread to the bobbins. Item (8): students were skillful of reeling and spinning the silk thread to the bobbins quickly and the silk thread was not torn (μ=4.53,σ= 0.66). Threading warp threads through comb-like part of loom by tying them to warp threads of previous piece of cloth woven activity; item (14): students were skillful of arrangement of threading warp threads through comb-like part of loom by tying them to warp threads of previous piece of cloth woven neatly and Prae-Wa silk weaving. Item (16): students were skillful of Prae-Wa silk weaving with keeping Khitt-Pattern neatly and beautifully (μ= 4.53, σ= 0.58).