บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ
(สาระนาฏศิลป์) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 3.1) เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ 3.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนและก่อนเรียน 3.3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนและก่อนเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 หนองใส อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ทักษะที่เป็นปัญหาสำหรับผู้เรียนมาก คือ ทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย การออกแบบท่าทางนาฏศิลป์โดยเฉพาะเรื่อง
การออกแบบท่าทางนาฏศิลป์ไทย นักเรียนส่วนมากยังขาดทักษะด้านการออกแบบท่าทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ มีการฝึกปฏิบัติน้อยขาดความชำนาญส่งผลให้ไม่บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ของสถานศึกษา
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเสนอบทเรียน ขั้นสาธิตทักษะหรือการกระทำตาม ขั้นทดลองท่าและให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย และ ขั้นเชื่อมโยงทักษะย่อย ๆ และฝึกปฏิบัติได้ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ ร่วมกับ การใช้ชุดการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.47/82.93
3. ผลทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
3.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย อยู่ในระดับดี
3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย และความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก